วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551
การสร้างสื่อการเรียนการสอน
การสร้างสื่อการเรียนการสอน
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน
........1.1 ความหมาย ประเภท ของสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีเจตนาที่จะถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องอาศัยตัวกลางหรือพาหะ ซึ่งเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมโยงที่สำคัญ อาจเรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนอุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ สื่อการสอน สื่อการเรียน ซึ่งแต่ละคำหมายถึงตัวกลางทั้งสิ้น
เดิมใช้คำว่า “อุปกรณ์การสอน” (Teaching Aids) ซึ่งเน้นถึงสิ่งที่นำมาใช้ช่วย ในการสอน แต่เนื่องจากสิ่งที่นำมาใช้ช่วยในการสอนนั้นส่วนใหญ่ต้องใช้ประสาทตาและประสาทหูในการรับรู้ จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า “โสตทัศนอุปกรณ์” หรือ “โสตทัศนูปกรณ์” (Audio-Visual Aids) นอกจากนี้ยังมีคำที่เกี่ยวข้องและมีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น Audio-Visual Education, Educational Media, Instructional Media, Instructional Material, Instructional Technology, Audio-Visual Media, Audio-Visual Communication, Communication Media, Teaching Aids, Technology for Education
เมื่อพิจารณารูปแบบของการเรียนการสอนจึงได้นำคำว่า “สื่อ” (Media) มาใช้แทน คำว่า “อุปกรณ์” ทั้งนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำว่า สื่อ หมายถึง ทำการติดต่อ ให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน
เมื่อมีการนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน หากเน้นที่ผู้สอนจะเรียกว่า สื่อการสอน (Teaching Media) หากเน้นที่ผู้เรียนจะเรียกว่า สื่อการเรียน (Learning Media) โดยยึดถือเอาผู้ใช้สื่อเป็นหลัก แต่เนื่องจากการเรียนและการสอนมักจะเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน จึงน่าจะเรียกตัวกลางที่ใช้ในการเรียนการสอนว่า
“สื่อการเรียนการสอน” (Instruction Media )
ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อการสอน
เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences)
โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
1. วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบ
2. แสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3. โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น
ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
ก. ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)
1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
I. ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
i. ภาพเขียน (Drawing)
ii. ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
iii. ภาพตัด (Cut-out Pictures)
iv. สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
v. ภาพถ่าย (Photographs)
II. ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
i. สไลด์ (Slides)
ii. ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
iii. ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
iv. ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
v. ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
vi. ภาพยนตร์ (Video Tape)
2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
I. แผนภูมิ (Charts)
II. กราฟ (Graphs)
III. แผนภาพ (Diagrams)
IV. โปสเตอร์ (Posters)
V. การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
I. การแสดงหุ่น (Pupetry)
ข. ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
1. เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
2. เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
3. เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
4. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
5. เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
6. เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
7. เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
8. เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
9. เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
10. จอฉายภาพ (Screen)
11. เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
12. เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
13. อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ
จากการศึกษาถึงความสำคัญ ตลอดจนการแบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอนข้างต้น
ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสื่อการสอนที่มีบทบาทในการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี แม้สื่อการสอนจะมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการใช้สื่อการสอนด้วย
........1.2 คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน 1) คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
2)คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม
สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร
สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนที่มีต่อผู้เรียน
ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน
ช่วยให้การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว
ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้
ช่วยให้เกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
ช่วยให้สมมารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้
ช่วยให้ผู้เรียน เรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน
ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่วยต่อการเรียน
........1.3 หลักการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน
การใช้สื่อการเรียนการสอนการที่ผู้สอนจะนำสื่อการสอนมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์นั้น มีหลักการที่ผู้สอนควรมีความเข้าใจในการใช้สื่อการสอน ซึ่งแบ่งหลักการออกเป็น 4 ขั้นตอนตามช่วงเวลาของการใช้สื่อการสอนดังนี้
หลักการใช้สื่อการสอน
การที่ผู้สอนจะนำสื่อการสอนมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์นั้น มีหลักการที่ผู้สอนควรมีความเข้าใจในการใช้สื่อการสอน ซึ่งแบ่งหลักการออกเป็น 4 ขั้นตอนตามช่วงเวลาของการใช้สื่อการสอนดังนี้
1. การวางแผน (Planning)
การใช้สื่อการสอนต้องมีการวางแผน โดยในขั้นของการวางแผนคือการพิจารณาว่าจะเลือกใช้สื่อใดในการเรียนการสอน ซึ่งรายละเอียดของการเลือกใช้สื่อการสอนได้กล่าวไว้ในหัวข้อหลักการเลือกใช้สื่อการสอน อย่างไรก็ตามการวางแผนเป็นขั้นตอนแรก และเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก ผู้ใช้สื่อการสอนควรเลือกใช้สื่อการสอนโดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน หากการวางแผนผิดพลาด ก็จะทำให้การใช้สื่อการสอนล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้ปฏิบัติการใช้สื่อการสอนเลย
2. การเตรียมการ (Preparation)
เมื่อได้วางแผนเลือกใช้สื่อการสอนแล้ว ขั้นต่อมาคือการเตรียมการสิ่งต่างๆ เพื่อให้การใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนใช้สื่อการสอน ผู้ใช้ควรเตรียมความพร้อมในสิ่งต่างๆ ดังนี้
2.1 การเตรียมความพร้อมของผู้สอน
เพื่อให้ภาพของผู้สอนในการใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างดีและราบรื่น เป็นที่ประทับใจต่อผู้เรียน และสำคัญที่สุดคือ การสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้สอน ดังนั้นผู้สอนควรมีการเตรียมพร้อมในการใช้สื่อการสอน เช่น การเตรียมบทบรรยายประกอบสื่อ การจัดลำดับการใช้สื่อ การตรวจเช็คสภาพหรือทดลองสื่อก่อนการใช้งานจริง
2.2 การเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน
ก่อนใช้สื่อการสอน ผู้สอนควรทำความเข้าใจกับผู้เรียนถึงกิจกรรมการเรียน และลักษณะการใช้สื่อการสอน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนทราบบทบาทของตน และเตรียมตัวที่จะมีส่วนร่วมกับกิจกรรมหรือตอบสนองต่อสื่อ
2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ร่วมกัน
สื่อการสอนบางอย่างต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นด้วย ดังนั้น ผู้ใช้สื่อ ควรทดสอบการใช้สื่อก่อนใช้งานจริง เช่น การตรวจสอบแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า การตรวจสอบการเสียบปลั๊กหรือสายไฟต่างๆ เป็นต้น
2.4 การเตรียมความพร้อมของสภาพแวดล้อมและห้องสอน
สื่อแต่ละอย่างเหมาะสมที่จะใช้กับสภาพห้องหรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป เช่น ขนาดของห้องเรียนควรเหมาะสมกับสื่อที่ใช้ สภาพของแสงหรือเสียงก็ควรจัดให้เหมาะสมเช่นกัน
3. การนำเสนอสื่อ (Presentation)
ในช่วงการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน อาจแบ่งช่วงเวลาออกได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน และช่วงสรุป ในทุกช่วงเวลาสามารถนำสื่อการสอนเข้ามาใช้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้หรือการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เลือกใช้สื่อการสอนควรมีความเข้าใจว่าสื่อการสอนที่นำมาใช้ในแต่ละช่วงเวลาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด
1. ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน
การใช้สื่อการสอนช่วงนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการใช้สื่อเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในการที่จะเริ่มต้นเรียน และเพื่อสร้างความน่าสนใจให้แก่บทเรียน
2. ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน
การใช้สื่อการสอนในช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน เป็นการใช้สื่อเพื่อถ่ายทอดสาระ ความรู้ หรือเนื้อหาบทเรียนให้แก่ผู้เรียน เพื่อสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
3. ช่วงสรุปบทเรียน
ในช่วงสุดท้ายของการสอน ควรมีการใช้สื่อการสอนเพื่อสรุปเนื้อหาที่สำคัญของบทเรียน เพื่อช่วยผู้เรียนในการสรุปสาระที่ควรจำ หรือเพื่อช่วยโยงไปสู่เนื้อหาในบทต่อไป
นอกจากการใช้สื่อการสอนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของช่วงการนำเสนอแล้ว ในขณะที่ใช้สื่อยังมีหลักการที่ควรปฏิบัติดังนี้
3.1 ใช้สื่อการสอนตามลำดับที่วางแผนไว้ หากพบปัญหาเฉพาะหน้าควรแก้ไขลำดับการนำเสนอในภาพรวมให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
3.2 ควบคุมเวลาการใช้สื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางอย่างไว้อย่างดีแล้ว คือใช้เวลาให้เหมาะสมกับเนื้อหา ไม่นำเสนอเร็วหรือช้าเกินไป
3.3 ไม่ควรให้ผู้เรียนเห็นสื่อก่อนการใช้ เพราะอาจทำให้ผู้เรียนหมดความตื่นเต้นหรือหมดความน่าสนใจ หรือไม่ควรนำเสนอสื่อหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เพราะสื่อหนึ่งอาจแย่งความสนใจจากอีกสื่อหนึ่ง หรืออาจทำให้ผู้เรียนสับสน หรืออาจมีปัญหาในเรื่องการรับรู้ของผู้เรียนที่ไม่สามารถรับรู้ได้พร้อมๆ กัน
3.4 ทำกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบการใช้สื่อการสอนตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ เช่น การระดมสมอง การตั้งคำถาม การอภิปราย เป็นต้น
3.5 การนำเสนอควรมีจุดเน้นและอธิบายรายละเอียดในส่วนที่สำคัญ ในขณะนำเสนอ โดยเฉพาะจุดที่ผู้เรียนไม่เข้าใจและสับสน
3.6 การนำเสนอด้วยสื่อควรออกแบบให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการนำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิสัมพันธ์ด้านการใช้ความคิด ผู้เรียนควรมีโอกาสมีส่วนร่วมกับกิจกรรมหรือการใช้สื่ออย่างทั่วถึง
4. การติดตามผล (Follow - up)
ภายหลังการใช้สื่อการสอนแล้ว ผู้สอนควรทำการซักถาม ตอบคำถามผู้เรียน หรืออภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาของสื่อที่ได้นำเสนอไปแล้ว เพื่อสรุปถึงประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับ และเพื่อทำการประเมินผู้เรียนว่ามีความเข้าใจบทเรียนเพียงใด และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อการสอน ตลอดจนวิธีการใช้สื่อการสอนของครูว่า มีข้อดี ข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่ควรแก้ไขต่อไปอย่างไรบ้าง
หน่วยที่ 2 จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน
........2.1 จิตวิทยาการรับรู้
........2.2 จิตวิทยาการเรียนรู้
........2.3 จิตวิทยาพัฒนาการ
หน่วยที่ 3 การสื่อสาร
........3.1 ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็นแหล่งหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง
2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด เหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้
5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้ และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย
6. ปฏิกริยาสนองกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่งโดยผู้รับอาจแสดงอาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า การพูดโต้ตอบ หรือการแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่า ผู้รับมีความพอใจหรือมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่ปฏิกริยาสนองกลับนี้คือข้อมูลย้อนกลับอันเกิดจากการตอบสนองของผู้รับที่ส่งกลับไปยังผู้ส่งนั่นเอง
กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวม
แนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส (Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels) ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร
คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
........3.2 รูปแบบของการสื่อสาร
รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
2.1 การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็นต้น
การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว
การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือในการสื่อสารระบบวงเปิด (Open-Loop System) นี้ สามารถให้ได้โดยใช้การฉายภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การใช้โทรทัศน์วงจรปิดในการสอนแก่ผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่ หรือการสอนโดยใช้วิทยุและโทรทัศน์การศึกษาแก่ผู้เรียนที่เรียนอยู่ที่บ้าน การแปลความหมายของผู้เรียนต่อสิ่งเร้าก่อนจะมีการตอบสนองที่เหมาะสมนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะถ้าขอบข่ายประสบการณ์ของผู้เรียนมีน้อยหรือแตกต่างไปจากผู้สอนมากจะทำให้การเรียนนั้นไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
รูปแบบของสิ่งเร้า การแปลความหมาย และการตอบสนอง
ในการสื่อสารทางเดียว โดยไม่มีปฏิกริยาสนองกลับส่งไปยังผู้สอนหรือสิ่งเร้า ดังนั้น การเรียนการสอนโดยใช้ผู้สอนหรือใช้สื่อการสอนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือการสื่อสารในระบบวงเปิดนี้ จึงควรจะมีการอธิบายความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนการเรียนหรืออาจจะมีการอภิปรายภายหลังจากการเรียนหรือดูเรื่องราวนั้นแล้วก็ได้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและแปลความหมายในสิ่งเร้านั้นอย่างถูกต้องตรงกันจะได้มีการตอบสนองและเกิดการเรียนรู้ได้ในทำนองเดียวกันด้วย
2.2 การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุม เป็นต้น
การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง
การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารสองทงหรือการสื่อสารระบบวงปิด (Closed Loop System) นี้ สามารถให้ได้โดยการใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) หรือการอภิปรายกันในระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ทั้งนี้เพราะในสถานการณ์ของการสื่อสารแบบนี้ เนื้อหาข้อมูลต่างจะผ่านอยู่แต่เฉพาะในระหว่างกลุ่มบุคคลที่อยู่ในที่นั้น โดยถ้าเป็นการเรียนโดยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือการใช้เครื่องช่วยสอน เนื้อหาความรู้จะถูกส่งจากเครื่องไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนทำการตอบสนองโดยส่งคำตอบหรือข้อมูลกลับไปยังเครื่องอีกครั้งหนึ่ง หรือถ้าเป็นการอภิปรายในห้องเรียนผู้สอนและผู้เรียนจะมีการโต้ตอบเนื้อหาความรู้กัน เป็นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเช่นเดียวกันการใช้อุปกรณ์การสอนดังกล่าวมาแล้วการใช้การสื่อสารรูปแบบนี้ในการเรียนการสอนมีข้อดีที่สำคัญหลายประการโดยเมื่อผู้รับมีการตอบสนองแล้ว จะเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ส่งและมีปฏิกริยาสนองกลับส่งไปยังผู้ส่งเดิมซึ่งจะกลายเป็นผู้รับ
........3.3 แบบจำลองของการสื่อสาร
แบ่งตามแนวคิดได้ดังนี้
แลสแวลล์ (Lasswell)
เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่ได้ทำการวิจัยในเรื่องการสื่อสารมวลชนไว้ ในปี ค.ศ. 1948 และได้คิดสูตรการสื่อสารที่ถึงพร้อมด้วยกระบวนการสื่อสารที่สอดคล้องกัน โดยในการสื่อสารนั้นจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้คือ
สูตรการสื่อสารของแลสแวลล์เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปโดยสามารถนำมาเขียนเป็นรูปแบบจำลองและเปรียบเทียบกับองค์ประกอบของการสื่อสารได้ดังนี้
เปรียบเทียบการสื่อสารของแลสแวลล์กับองค์ประกอบของการสื่อสาร
ในการที่จะจัดให้การเรียนการสอนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพดีนั้น เราสามารถนำสูตรของแลสแวลล์มาใช้ได้เช่นเดียวกับการสื่อสารธรรมดา (Coppen 1974:15-17) คือ
1. ใคร (Who) เป็นผู้ส่งหรือผู้ทำการสื่อ
2. พูดอะไร ด้วยวัตถุประสงค์อะไร (Says what, with what purpose) เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาข่าวสารที่ส่ง
3. โดยใช้วิธีการและช่องทางใด (By what means, in what channel) ผู้ส่งทำการส่งข่าวสารโดยการพูด การแสดงกิริยาท่าทาง ใช้ภาพ ฯลฯ หรืออาจจะใช้อุปกรณ์ระบบไฟ
4. ส่งไปยังใคร ในสถานการณ์อะไร (To whom, in what situation) ผู้ส่งจะส่งข่าวสารไปยังผู้รับเป็นใครบ้าง เนื่องในโอกาสอะไร
5. ได้ผลอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต (With what effect, immediate and long term?) การส่งข่าวสารนั้นเพื่อให้ผู้รับฟังผ่านไปเฉย ๆ หรือจดจำด้วยซึ่งต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่แตกต่างกัน
เบอร์โล (Berlo)
เป็นผู้คิดกระบวนการของการติดต่อสื่อสารไว้ในลักษณะรูปแบบจำลอง S M C R Model (ดังรูป) (Berlo 1960:40-71) อันประกอบด้วย
1. ผู้ส่ง (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การเข้ารหัส" (encode) เนื้อหาข่าวสาร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในการสื่อสาร มีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรจะมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับ ตลอดจนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องทางด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสารนั้น
3. ช่องทางในการส่ง (Channel) หมายถึง การที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับได้รับข่าวสารข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น
4. ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การถอดรหัส" (decode) สาร เป็นผู้ที่มีทัศนคติ ระดับความรู้ และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมเช่นเดียวหรือคล้ายคลึงกันกับผู้ส่งจึงจะทำให้การสื่อความหมายหรือการสื่อสารนั้นได้ผล
ตามลักษณะของ S M C R Model นี้ มีปัจจัยสำคัญที่มีความสำคัญต่อขีดความสามารถของผู้ส่งและผู้รับที่จะทำให้การสื่อความหมายนั้นได้ผลสำเร็จหรือไม่เพียงใด ได้แก่
1.ทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) หมายถึง ทักษะซึ่งทั้งผู้ส่งและผู้รับควรจะมีความชำนาญในการส่งและการรับสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันได้อย่างถูกต้อง
2. ทัศนคติ (Attiudes) เป็นทัศนคติของผู้ส่งและผู้รับซึ่งมีผลต่อการสื่อสาร ถ้าผู้ส่งและผู้รับมีทัศนคติที่ดีต่อกันก็จะทำให้การสื่อสารได้ผลดี ทั้งนี้เพราะทัศนคติย่อมเกี่ยวโยงไปถึงการยอมรับซึ่งกันและกันระหว่างผู้ส่งละผู้รับด้วย
3. ระดับความรู้ (Knowledge Levels) ถ้าผู้ส่งและผู้รับมีระดับความรู้ที่เท่าเทียมกันก็จะทำให้การสื่อสารนั้นลุล่วงไปด้วยดี แต่ถ้าหากความรู้ของผู้ส่งและผู้รับมีระดับที่แตกต่างกัน ย่อมจะต้องมีการปรับความยากง่ายของข้อมูลที่จะส่งในด้านของความยากง่ายของภาษาและถ้อยคำสำนวนที่ใช้
4. ระบบสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Culture Systems) ระบบสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติเป็นสิ่งที่มีส่วนกำหนดพฤติกรรมของประชาชนในชาตินั้น ซึ่งเกี่ยวข้องไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติ สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติย่อมมีความแตกต่างกันไป
แชนนันและวีเวอร์ (Shannon and Weaver)
ได้คิดรูปแบบจำลองของการสื่อสารขึ้นในลักษณะของกระบวนการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง (Shannon and Weaver 1949:7) (รูปที่ 1) กระบวนการนี้เริ่มด้วยผู้ส่งซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งเนื้อหาข่าวสารเพื่อส่งไปยังผู้รับ โดยผ่านทางเครื่องส่งหรือตัวถ่ายทอดในลักษณะของสัญญาณที่ถูกส่งไปในช่องทางต่าง ๆ กันแล้วแต่ลักษณะของการส่งสัญญาณแต่ละประเภท เมื่อทางฝ่ายผู้รับได้รับสัญญาณแล้ว สัญญาณที่ได้รับจะถูกปรับให้เหมาะสมกับเครื่องรับหรือการรับเพื่อทำการแปลสัญญาณให้เป็นเนื้อหาข่าวสารนั้นอีกครั้งหนึ่งให้ตรงกับที่ผู้ส่งส่งมา ในขั้นนี้เนื้อหาที่รับจะไปถึงจุดหมายปลายทางคือผู้รับตามที่ต้องการ แต่ในบางครั้งสัญญาณที่ส่งไปอาจถูกรบกวนหรืออาจมีบางสิ่งบางอย่างมาขัดขวางสัญญาณนั้น ทำให้สัญญาณที่ส่งไปกับสัญญาณที่ไดรับมีความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้เนื้อหาข่าวสารที่ส่งจากแหล่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางอาจจะผิดกันไป นับเป็นความล้มเหลวของการสื่อสารเนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปกับข้อมูลที่ได้รับไม่ตรงกัน อันจะทำให้เกิดการแปลความหมายผิดหรือความเข้าใจในการสื่อสารกันได้
จากรูปแบบจำลองนี้พิจารณาได้ว่า แซนนันและวีเวอร์สนใจว่าเมื่อมีการสื่อสารกัน จะมีอะไรเกิดขึ้นกับข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปนั้นไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยผ่านอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าหรือการส่งโดยใช้สัญญาณต่าง ๆ เช่น เมื่อมีการเปิดเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ เสียงเพลงนั้นจะถูกแปลงเป็นสัญญาณและส่งด้วยวิธีการ modulation จากสถานีวิทยุไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยที่เครื่องรับจะแปลงสัญญาณคลื่นนั้นเป็นเพลงให้ผู้รับได้ยิน ในขณะที่สัญญาณถูกส่งไปจะมีสิ่งต่าง ๆ หลายอย่างมาเป็นอุปสรรคในการส่งโดยการรบกวนสัญญาณนั้นให้เสียไป เราจึงเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า "สิ่งรบกวน" (Noise Source) เช่น ในการส่งวิทยุระบบ AM สัญญาณจะถูกรบกวนโดยไฟฟ้าในบรรยากาศ หรือในขณะที่ครูฉายภาพยนตร์ในห้องเรียน การรับภาพและเสียงของผู้เรียนจะถูกรบกวนโดยสิ่งรบกวนหลายอย่าง
ชแรมม์ (Schramm)
ได้นำรูปแบบจำลองการสื่อสารลักษณะกระบวนการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรงของแซนนันและวีเวอร์มาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายการสื่อสารที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน (Schramm 1954 : 116) โดยเน้นถึงวัตถุประสงค์ของการสอน ความหมายของเนื้อหาข้อมูล และการที่ข้อมูลได้รับการแปลความหมายอย่างไร นอกจากนี้ ชแรมม์ยังให้ความสำคัญของการสื่อความมหาย การรับรู้และการแปลความหมายของสัญลักษณ์ ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนการสอน ตามลักษณะรูปแบบจำลองของชแรมม์นี้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้อย่างดีมีประสิทธิภาพเฉพาะในส่วนที่ผู้ส่งและผู้รับทั้งสองฝ่ายต่างมีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ความรู้ ฯลฯ ที่สอดคล้องคล้ายคลึงและมีประสบการณ์ร่วมกัน จึงจะทำให้สามารถเข้าใจความหมายที่สื่อกันนั้นได้ ทั้งนี้เพราะผู้ส่งสามารถเข้ารหัสและผู้รับสามารถถอดรหัสเนื้อหาข่าวสารได้เฉพาะในขอบข่ายประสบการณ์ที่แต่ละคนมีอยู่
เนื่องจากในการสื่อสารนั้นเราไม่สามารถส่ง "ความหมาย" (Meaning) ของข้อมูลไปยังผู้รับได้สิ่งที่ส่งไปเป็นเพียง "สัญลักษณ์" (symbol) ของความหมายนั้น เช่น คำพูด รูปภาพ ฯลฯ ดังนั้น เมื่อมีการสื่อสารเกิดขึ้น ผู้ส่งต้องพยายามเข้ารหัสสารซึ่งเป็น "สัญลักษณ์" ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับเข้าใจได้โดยง่ายซึ่งสารแต่ละสารจะประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย โดยที่สัญลักษณ์แต่ละตัวในสารนั้นจะเป็นตัวบ่งบอกถึง "สัญญาณ" (signal) ของบางสิ่งบางอย่างซึ่งจะทราบได้โดยประสบการณ์ของคนเรา ผู้ส่งต้องส่งสัญลักษณ์เป็นคำพูด ภาษาเขียน ภาษามือ ฯลฯ เพื่อถ่ายทอดความหมายของสารที่ต้องการจะส่ง โดยพยายามที่จะเชื่อมโยงเนื้อหาสารเข้ากับประสบการณ์ที่สอดคล้องกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ผู้รับสามารถแปลและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์เหล่านั้นได้ง่ายในขอบข่ายประสบการณ์ของตน ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ส่งต้องการส่งสารของคำว่า "คอมพิวเตอร์" ให้ผู้รับที่ยังไม่เคยเห็นคอมพิวเตอร์มาก่อน ผู้ส่งต้องพยายามใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอธิบายด้วยคำพูด ภาพ หรือสัญลักษณ์อื่นใดก็ตามเพื่อให้ผู้รับสามารถเข้าใจและมีประสบการณ์ร่วมกับผู้ส่งได้มากที่สุดเพื่อเข้าใจความหมายของ "คอมพิวเตอร์" ตามที่ผู้ส่งต้องการ
จากรูปแบบจำลองของการสื่อสารทั้ง 4 แบบนี้ อาจสรุปได้ว่า ในการสื่อสารนั้น การที่ผู้ส่งและผู้รับจะสามารถเข้าใจกันได้ดีเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทักษะ ทัศนคติ ความรู้ และระบบสังคมและวัฒน-ธรรมของทั้งสองฝ่าย ถ้าหากว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับมีสิ่งต่าง ๆเหล่านี้สอดคล้องกัน มีประสบการณ์ร่วมกัน ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นได้ผลดียิ่งขึ้น ต่างฝ่ายก็มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน และสามารถขจัดอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับออกไปได้
........3.4 การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน
รูปแบบกระบวนการสื่อสารของเบอร์โล เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เรียกว่าS.M.C.R.Process Model ได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี การศึกษาได้เป็นอย่างดี
หน่วยที่ 4 การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
........4.1 ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย
สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา
หลักในการใช้สื่อ
ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่
6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
ประโยชน์ของสื่อ
1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง
2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น
3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน
4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้
แม้ว่าสื่อการสอนจะมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอน แต่ถ้าครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนำสื่อไปใช้ไม่ตรงตามจุดประสงค์และเนื้อหา ก็อาจทำให้สื่อนั้นไม่มีประสิทธิภาพและยังทำให้การสอนนั้นไม่ได้ผลเต็มที่ ดังนั้นครูควรมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อด้วย เพื่อให้สื่อนั้นมีประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน
การออกแบบสื่อการสอน เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อสัมฤทธิผลของแผนการสอนที่วางไว้ ความน่าสนใจและความเข้าใจในบทเรียนเป็นผลมาจากประเภท ลักษณะ และความเหมาะสมของสื่อที่ใช้
........4.2 วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
4.2 การออกแบบสื่อการสอน
คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
ลักษณะการออกแบบที่ดี (Characteristics of Good Design)
1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น
ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน
1.เป้าหมายของการเรียนการสอน เป็นสิ่งที่กำหรดพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนว่าจะมีลักษณะเช่นไร โดยทั่วไปนิยมกำหนดพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายของการเรียนการสอนไว้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1.1 พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)เป็นพฤติกรรมที่แสดงว่าได้เกิดปัญญาความรู้ในเนื้อหาวิชานั้น ๆ แล้ว สามารถที่จะบอก อธิบาย วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาความรู้นั้นได้
1.2 พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Pyschomotor Domain) เป็นพฤติกรรมด้านทักษะของร่างกายในการเคลื่อนไหว ลงมือทำงาน หรือความว่องไวในการแก้ปัญหา
1.3 พฤติกรรมด้านเจตตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงความรู้สึกด้านอารมณ์ที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้และสภาพแวดล้อม
ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ย่อมประกอบด้วยพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายหลายประการด้วยกัน สื่อการสอนที่จะนำมาใช้ หากจะต้องสนองต่อทุกพฤติกรรมแล้ว ย่อมมีลักษณะสับสนหรือซับซ้อน ในการออกแบบสื่อการสอน จึงต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ
2. ลักษณะของผู้เรียน เนื้อหาและรายละเอรียนของื่อชนิดหนึ่ง ๆ ย่อมแปรตามอายุ และความรู้พื้นฐานของผู้เรียน แต่โดยสภาพความเป็นจริงแล้ว ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน หากจะนำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสื่อย่อมทำไม่ได้ ในทางปฎิบัติจึงใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะสำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
3. ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่
ก. ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น
-การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยาย การสาธิต
-การสอนกลุ่มเล็ก
-การสอนเป็นรายบุคคล
กิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนต์มีความเหมาะสมกับการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล็ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง
ข. สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย
ค. วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้
กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกัน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
4. ลักษณะของสื่อ ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่องต่อไปนี้
ก. ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ สื่อบางชนิดมีความเหมาะสมกับผู้เรียนบางระดับ หรือเหมาะกับจำนวนผู้เรียนที่แตกต่างกัน เช่น แผนภาพจะใช้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน ภาพการ์ตูนเหมาะสมกับเด็กประถมศึกษา ภาพยนต์เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ วิทยุเหมาะกับการสอนมวลชน ฯลฯ
ข. ขนาดมาตรฐานของสื่อ แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่ก็ถือเอาขนาดขั้นต่ำที่สามารถจะมองเห็นได้ชัดเจน และทั่วถึงเป็นเกณฑ์ในการผลิตสื่อ
ส่วนสื่อวัสดุฉายจะต้องได้รับการเตรียมต้นฉบับให้พอดีที่จะไม่เกิดปัญหาในขณะถ่ายทำหรือมองเห็นรายละเอียดภายในชัดเจน เมื่อถ่ายทำขึ้นเป็นสื่อแล้ว การกำหนดขนาดของต้นฉบับให้ถูกหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
-การวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือได้สะดวก
-การเก็บรักษาต้นฉบับทำได้สะดวก
-สัดส่วนของความกว้างยาวเป็นไปตามชนิดของวัสดุฉาย
องค์ประกอบของการออกแบบ
1. จุด ( Dots )
2. เส้น ( Line )
3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4. ปริมาตร ( Volume )
5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7. สี ( Color )
8. น้ำหนักสื่อ ( Value )
การเลือกสื่อ การดัดแปลง และการออกแบบสื่อ (Select , Modify , or Design Materials )
การเลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก 3 ประการ คือ
1. การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำก็คือ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้าง โดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์
2. การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย
3. การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการ สอน เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลยแต่ถ้ามีอยู่โดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายเราก็ใช้วิธีดัดแปลงได้ แต่ถ้าไม่มีสื่อตามที่ต้องการก็ต้องผลิตสื่อใหม่
การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ควรคำนึงถึง
1. จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร
2. ผู้เรียน ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน
3. ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่
4. ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด
5. เครื่องมืออุปกรณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่
6. สิ่งอำนวยความสะดวก มีอยู่แล้วหรือสามารถจะจัดหาอย่างไร
7. เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่
การวัดผลของสื่อและวิธีการ
หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคตเราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้
........4.3 การสร้างแบบจำลองการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
4.3 วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกัน
ระบบการการเรียนการสอน
ระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ
1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี
4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน
5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน
หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิก
........5.1 ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิก
ประวัติความเป็นมา
งานกราฟิก มีประวัติความเป็นมาตามหลักฐานในอดีต เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขูด จารึกเป็นร่องรอย ให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบกราฟิกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียน ให้ผู้อ่านตีความหมายได้ เรียกว่า Pictogram เช่นภาพคน ภาพสัตว์ ต้นไม้ ไว้บนผนังหรือบนเพดานถ้ำ และมีการแกะสลักลงบนเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ ซึ่งใช้วิธีการวาดอย่างง่ายๆไม่มีรายละเอียดมาก
ต่อมาประมาณ 9000 ปี ก่อนคริสต์กาล ชาว Sumerien ในแคว้นเมโสโปเตเมีย ได้เริ่มเขียนตัวอักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) และตัวอักษร Hieroglyphic ของชาวอียิปต์ งานกราฟิกเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น เมื่อได้คิดค้นกระดาษและวิธีการพิมพ์ ปี ค.ศ.1440 Johann Gutenberg ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบตัวเรียง ที่สามารถพิมพ์ได้หลายครั้ง ครั้งละจำนวนมากๆ
ในปี ค.ศ.1950 การออกแบบได้ชื่อว่าเป็น Typographical Style เป็นการพัฒนาโดยนักออกแบบชาวสวิส ได้นำวิธีการจัดวางตัวอักษรข้อความและภาพเป็นคอลัมภ์ มีการใช้ตารางช่วยให้อ่านง่ายมีความเป็นระเบียบ สวยงาม มีการจัดแถวของข้อความแบบชิดขอบด้านหน้าและด้านหลังตรงเสมอกัน
ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา การออกแบบกราฟิก ได้พัฒนาและขยายขอบเขตงานออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดอยู่แต่ในสิ่งพิมพ์เท่านั้น โดยได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการสื่อสารอื่นๆเช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ การถ่ายภาพ โปสเตอร์ การโฆษณา ฯลฯ
การออกแบบกราฟิกปัจจุบัน เป็นยุคของอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้นำเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ วัสดุสำเร็จรูป มาช่วยในการออกแบบกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ ( Computer Graphics ) มีโปรแกรมด้านการจัดพิมพ์ตัวอักษรที่นิยมกันมากคือ Microsoft Word สามารถจัดเรียง วางรูปแบบ สร้างภาพ กราฟ แผนภูมิ จัดการและสร้างสรรค์ตัวอักษร โปรแกรมอื่นๆที่สนับสนุนงานกราฟิกอีกมากมาย เช่น Adobe Photoshop / Illustrator / PageMaker / CorelDraw / 3D Studio / LightWave 3D / AutoCad ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์งานกราฟิกบนเว็บ อีกมากเช่น Ulead Cool / Animagic GIF / Banner Maker เป็นต้น
ปัจจุบันงานคอมพิวเตอร์กราฟิก จึงเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบ การออกแบบและสร้างสรรค์งานกราฟิกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากให้ความสะดวก รวดเร็ว แก้ไขงาน ทำซ้ำงานทำได้ง่าย ตลอดจนการสั่งพิมพ์ หรือบันทึกเพื่อการพกพาในรูปแบบอื่นๆได้หลายวิธี
ความหมาย
" กราฟิก " ( Graphic ) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้
วัสดุกราฟิกทางการศึกษา เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาดและสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน และแผนสถิติ ฯลฯ
ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิกต่าง ๆ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ดังต่อไปนี้
1. ใช้เป็นสื่อประกอบการสอนได้ทุกวิชา โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและระดับของผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้รวดเร็วกว่าใช้คำพูด ทำให้ประหยัดเวลาในการสอน 3. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีส่วนร่วมและอยากเรียน
4. ใช้ในการโน้มน้าวจิตใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ภาพโฆษณา การโฆษณาสินค้า
5. ใช้ในการจัดแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการ
6. ใช้ในด้านเผยแพร่กิจกรรม การประชาสัมพันธ์ของทุกหน่วยงาน
7. ใช้ในการสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงเจตคติ และสร้างความเข้าใจอันดีภายในและภายนอกองค์กร
การจำแนกประเภทของสื่อวัสดุกราฟิก
ในปัจจุบัน หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสาร ตำรา ในการเรียนการสอน ตลอดจนสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ นิยมใช้สัญลักษณ์ทางกราฟิก( Graphic Symbols ) มาประกอบ เพราะสัญลักษณ์เหล่านี้สามารถทำให้ผู้อ่านหรือผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ชัดเจน รวดเร็ว และยังมีความสวยงามน่าสนใจ เช่นเครื่องหมายธนาคาร จะติดไว้สูงๆบนหลังคามองเห็นได้ในระยะไกล
........5.2 การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน
การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน
จุดประสงค์ของการเรียนรู้
1.เพื่อให้รู้ถึงความหมายของสีและการใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
2.เพื่อให้รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
3.เพื่ีอให้รู้ถึงแนวทางในการเลือกใช้ในการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์
4.เพื่อให้รู้ถึงหลักการพิจารณาในการเลือกใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
สีและการใช้สี
ความเข้าใจในเรื่องของสีเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้งานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มีความสดใสสวยงาม น่าสนใจ
และมีบทบาทในการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง เหมาะและมีคูณภาพอีกด้วย ดั้งนั้น การเลือกใช้สีควรจะได้ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อที่จะได้นำสีไปใช้ประกอบในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้งานนั้นสามารรถตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์มากที่สุดซึ่งแต่ละสีให้ความสรู้สึกลารมณ์แก
่ผู้ดูต่างๆ กันออก ไป เช่น
สี ขาว ทำให้เกิดความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด ใหม่ สดใส
สี แดง ทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ
สี ม่วง ทำให้เกิดความรู้สึกเศร้า ลึกลับ
สี น้ำเงิน ทำให้เกิดความรู้สึกสงบ เงียบขรึม
สี เหลือง ทำให้เกิดความรู้สึกสดชื่นรื่นเริง
สี ชมพู ทำให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนโยน
สี ส้มแดง (แสด) ทำให้เกิดความรู้ร้อนแรง
สี ดำ หรือ ดำกับขาว ทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่ใจ
สี เทาปนเขียว ทำให้เกิดความรู้สึกแก่ชรา
สี เขียวปนเหลือง ทำให้เกิดความรู้สึกหนุ่มหรือสาวขึ้น
นอกจากอารมณ์และความรู้สึกจะเป็นตัวกำหนดความชอบและไม่ชอบเกี่ยวกับสีของ
คนแต่ต่างกันไปตามสภาพสังคม วัฒนธรรมของแต่ละสังคมอีกด้วยดังนั้นสีจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง
กับชีวิตประวันของคนอย่างมากมายโดยที่เราไม่ได้นึกถึง การได้ทำความเข้าใจว่าสีคืออะไร
ทฤษฎีของสี
อารมณ์และความรู้สึกจะเป็นตัวกำหนดความรับผิดชอบและไม่ชอบเกี่ยวกับสังคมแต่ละคน
แต่ละคนแต่ละกลุ่มเป้าหมายมีส่วนที่ชักจูงให้เกิดความรู้สึกสนใจ และเข้าใจถึงคุณค่าของภาพ
เหล่านั้นสามารถตอบสนองแรงกระตุ่นได้ตามวัตถุประสงค์ซึ่งเป็น
เป้าหมายที่สำคัญของงานออกแบบมีทฤษฎีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องของสีที่จะเกิดให้ความกระจ่าง
ในเรื่องของความหมาย ได้เป็นอย่างดี และเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายมีอยู่ 4 ทฤษฎีด้วยกัน คือ
1. ทฤษฎสีตามหลักการทางฟิสิก์ ในหลักการของทฤษฎี นี้จะอธิบายความหมายของสีที่ได้จากการมอง
เห็นโดยจะมีเรื่องของแสงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย สีในทฤษฎีตามหลักการทางฟิสิกส์ หมายถึง ส่วนประกอบ
ของเปกตรัม ซึ่งแม่สีจะประกอบด้วยสี 2 สี ได้แก่ สีเขียว และสีนำ้เงินถ้าเอาแม่สีแสงทั้ง 3 มาผสมกันจะ
ทำให้ได้สีใหม่เกิดขึ้นอีก 3 สี
สีที่ได้
สีแดง + สีน้ำเงิน สีชมพู
สีเขียว + สีแดง สีฟ้า
สีแดง + สีเขียว +สีน้ำเงิน สีเหลือง
2. ทฤษฎีของสีตามหลักการทางเคมี ในหลักการของทฤษฎีนี้ จะอธิบ่ายความหมายของสีตามคุณสมบัติ
ทางเคมีสีที่ปรากฏ คือ คือเป็นส่วนผสมที่ย้อมขึ้นหรือเป็นเนื้อแท้ของสีซึ่ง กำหนดแม่สีไว้เป็น 3 สี คือ สีแดง
สีเหลือง และสีน้ำเงิน ถ้าเอาเนื้อสีทั้งสามารถผสมกันก็จะได้สีใหม่ขึ้นมาอีก 3 สีดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2
สีที่ผสม สีที่ได้
สีแดง + สีเหลือง สีส้ม
สีเหลือง + สีน้ำเงิน สีเขียว
สีน้ำเงิน + สีแดง สีม่วง
3.ทฤษฎีของสีตามหลักการของมันเซลล์ มันเซลล์เป็นศิลปินชาวอเมริกากัน ได้กำหนดแม่สีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ไว้เป็น 5 สีด้วย คือ สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีม่วง ซึ่งเมื่อนำแม่สีทั้งหมด 5 สี มาทำการผสมกันระหว่างสีต่างๆ เข้าด้วยกันจะได้สีใหม่อีก 5 สี ดังตาราง ที่ 3
ตารางที่ 3
สีที่ผสม สีที่ได้
สีแดง + สีเหลือง สีเหลืองแก่
สีเขียว + สีน้ำเงิน สีเหลืองเขียว
สีเขียว + สีน้ำเงิน สีเขียวน้ำเงิน
สีน้ำเงิน + สีม่วง สีม่วงน้ำเงิน
สีม่วง + สีแดง สีม่วงแสด
4. ทฤษฎีของสีตามหลักจิตวิทยา ทฤษฎีนี้จะเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นหรือสิ่งเร้า และตามาหลักและตามหลักการของทฤษฎีนี้ จะอธิบายถึงคุณสมบัติของสีตามสิ่งเร้าประเภทต่างๆ ที่มองเห็น แม่สีจะถูก
แบ่งออกเป็น 4 สีด้วยกัน ได้แก่ สีเหลือง สีเขี้ยว สีน้ำเงิน และสีแดง ซึ่งถ้านำแม่สีทั้ง 4 มาผสมกันก็จะได้สีใหม่ 4 สีดังตารางที่4
ตารางที่ 4
สีที่ผสม สีที่ได้
สีเหลือง + สีเขียว สีเขียวเหลือง
สีเขียว + สีน้ำเงิน สีเขียวน้ำเงิน
สีน้ำเงิน + สีแดง สีม่วง
สีแดง + สีเหลือง สีส้ม
จากทฤษฎีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะบอกถึงความเป็นมาเป็นไปของแต่ละสี แต่สำหรับในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์แล้ว สีที่ใช้จะเกี่ยวข้องกับสีในทฤษฎีของสีตามหลักการทางเคมีเพื่อนำมาใช้สร้างสรรค์งานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ให้
มีคุณค่าและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยมรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องของสีเพิ่มเติมและแยกเป็นขั้นๆดังนี้
ขั้นที่ 1 (แม่สี)
เป็นสีที่มีความเข็มมากที่สุด สามารถนำไปผสมเพื่อให้เกิดสีต่าง ๆ ได้อีกมากมายหลายสี แม่สีมี 3 สี สี
แดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน
ขั้นที่ 2
เป็นสีที่เกิดจากการนำเอาแม่สีมาผสมกันที่ละคู่โดยใช้อัตราส่วนของแต่ละสีเทา ๆ กัน ซึ่งนำจะทำให้เกิดขึ้นมา
อีก 3 สี คือ สีส้ม สีเขียว และสีม่วงดังแสดงในตารางที่ 5
ตารางที่5
สีที่ผสม สีทีได้
สีแดง + สีเหลือง สีส้ม
สีเหลือ + สีน้ำเงิน สีเขียว
สีน้ำเงิน + สีแดง สีส้ม สีม่วง
สีขั้นที่ 3
เป็นสีทีได้จากการนำสีทีเกิดขึ้นใหม่ในขั้นที่ 2 มาทำการผสมกับแม่สีทั้งสามที่ละคู่โดยมีอัตราส่วนเท่าๆ กัน จะทำให้ได้สีใหม่อีก 6 สีด้วยกัน คือ สีม่วงแดง สีส้มแดง สีเหลืองส้ม สีเขียวเหลือง สีน้ำเงินเขียว และ
สีน้ำเนม่วง
ตารางที่ 6
สีที่ผสม สีที่ได้
สีแดง + สีม่วง สีม่วงแดง
สีแดง + ส้ม สีส้มแดง
สีเหลือง + สีเขียว สีเหลืองส้ม
สีเหลือง + สีเขียว สีเขียวเหลือง
น้ำเงิน + เขียว สีน้ำเงินเขียว
สีน้ำเน + ม่วง สีม่วงแดง สีน้ำเงินม่วง
จากการนำสีมาสมกันในชั้นที 1 ขั้นที่2และขั้นที่ซึ่งในแต่ละขั้นจะเกหดสีใหม่ขึ้นมาบางทีเราก็เรียกว่า วงล้อสีธรรมชาติ
โทนของสี
โทนสีหรือวรรณะของสี หมายถึง กลุ่มสีที่ปรากฏให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน สังเกตได้จากวงล้อสีธรรมชาติจะมีอู่ 2 โทน หรือ 2 วรรณะ คือ
1. โทนสีร้อน ลักษณะของสีจะให้ความสดใส ร้อนแรง ฉูดฉาดหรือรื่นเริง สีในกลุ่มนี้ ได้แก่ สีเหลือง สีแกง สีส้ม และสีไกล้เคลีย
2. โทนสีเย็นความรู้สกที่ปรากฏในภาพจะแสดงความสงเยือกเย็นจนถึงซึมเศร้า ได้แก่ สีน้ำเงิน สีม่วง สีเขียวและสีทีใกล้เคียง
จิตวิทยาในการเลือกใช้สี
สีถึงแม้จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการนำไปใช้งาน แต่ลักษณะเฉพาะหรือคุณค่าเฉพาะของสีแต่ละสีย่อมจะเป็นตัวแทนของอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ในวัตถุที่มีสีปรากฏขึ้นในตัว เมื่อสายตาได้พบเห็นวัตถุที่แตกต่าง หลากหลายสีในวัตถุ ย่อมเกิดความรู้สึกต่าง ๆ ได้แก่ อ่อนหวาน อบอุ่นหรือหนาวเย็น นุ่มนวลหรือแข็งกระด้าง และตื่นเต้น เป็นต้น
สีแดง เป็นสีของไฟ ความปรารถนา ความรู้สึกทางอารมณ์ การปฏิบัติ ความอ่อนเยาว์ ดังนั้น จึงเป็นที่ชอบมากสำหรับเด็กเล็กๆ สีแดงจึงเป็นสีที่มีพลังอย่างมากมายสามารถบังสีอื่น ๆ ได้ จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นสีของฉาดหลังหรือแบล็กกราวด์หรือสีพื้น เป็นต้น
สีเหลืองสีเขียว และสีม่วง ทุกระดับหรือเชดสีมีค่าที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสีที่มาผสม สีดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดความรู้สึกในทางบวกการแสดงออกเต็มไปด้วยความรู้สึก ฉลาดและมั่นใจ หรือให้ความรู้ในทางลบและเก็บกดก็เป็นได้
ดังนั้นเมื่อนำสีแดงมาผสมกับสีขาวจะได้สีชมพูซึงเป็นการลดพลังของสีเหลือง ผลลัพธ์ คือสีน้ำตาล ซึ่งมีความเข็มที่แตกต่างกันออกกไป แต่ไม่ว่าสีน้ำตาลที่ได้ จะมีความเข็มมากน้อยเพียงใด สีประเภทนี้ก็จะให้ความรู้สึกเกี่ยวกับพื้นดิน ความแข็งแรง ความเป็นจริง ความอบอุ่น และความมั่นคง
ส่วนสีเหลือง เป็นสีที่มีพลัง ในด้านความสว่างเป็นอย่างมาก ให้ความรู้สึกเย็นมากกว่า สีเหลืองอมส้ม แต่ให้ความอบอุ่นกว่าสีเหลืองอมเขียว นอกจากนี้สีเหลืองยังเป็นสีที่สะท้อนถึงสติปัญญามากกว่าจิตใจ
สีน้ำเงิน เป็นสีที่ให้อารมณ์ความรู้สึกในลักษณะเก็บกด เปล่าเปลี่ยว โดดเดี่ยวและช่างฝันถึงแม้ว่าจะสามารถทำให้ความจืดจ่างลงได้โดยการผสมสีขาวเข้าไปก็ตาม แต่สีน้ำเงินก็ยังคงให้ความประทับใจเกี่ยวกับความสะอาด บริสุทธิ์จึงมักใช้เป็นสีแทนสัญลักษณ์ทาบงด้านสุขอนามัย
สีม่วง เป็นสีที่ใช้อารมณ์ความรู้สึกลึกลับ ความเก่าแก่โบราณการทำสมาธิ เวทย์คาถาและความรู้สึกใคร่ครวญ
สีทอง มีโทนสีคล้าย หรือใกล้สีส้มและนับว่าเป็นสีที่อุ่นอีกสีหนึ่ง ในขณะสีน้ำ้เงินถูกจัดให้เป็นสีเย็น สีทองเป็นสี
ที่ให้อารมณ์ความรู้สึกไปในทางบวก และสร้างสรรค์
สีเทา เป็นสีที่มีความเข็มจางแตกต่างกันหลายระดับ อาจจะคุ้นเคยกันดีจากการดูภาพขาวดำ การอ่านหนังสือทั่วไป
และการอ่านหนังสื่อพิมพ์
สีดำ เป็นสีที่ใช้แทนสัญลักษณ์ของความมืน ความสว่าง โดยเฉพาะในการทำสื่อสิ่งพิมพ์สีดำจะมีค่าในทางบวก เนื่องจากเมื่อเราใช้สีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพหรือตัวอักษรวางลงไป ก็จะทำให้สีเหล่านั้นเด่นเจิดจ้าสะดุตาขึ้น
สีขาว เป็นสีที่ไม่อยู่ในโทนสีอุ่นและสีเย็น ยกเว้น เมื่ออยู่กับสีเหลืองซึ่งสีขาวจะช่วยขับให้สีเหลืองเด่นสะดุดตา
ขึ้นทำให้สามารถวางภาพหรืออักษรสีใด ๆ ลงบนพื้นที่สีขาวได้ผลดีเช่นเดียวกับสีดำ
........5.3 การเขียนภาพการ์ตูน
การเขียนภาพการ์ตูน
สำหรับเด็กนั้นโดยมากมักนิยมเขียนภาพสัตว์ด้วยฝีมือมายา คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป แต่เขาจงใจให้มองดูเขียนขึ้นอย่างลวกๆ การให้สีหนังสือเดกมักใช้สีฉูดฉาดบาดตา ภาพการ์ตูนสำหรับเด็กอีกระดับหนึ่ง หมายถึงระดับเด็กอายุ ๑๑ - ๑๖ ปี ระยะนี้การ์ตูนประกอบเรื่องจะต้องมีความปราณีต ขบขัน สวยงาม ตลอดจนกระทั่งฝีมือในการเขียนภาพประกอบจะต้องดีพอ จึงจะสามารถดึงดูดเด็กในวัยนี้ให้สนใจได้ สีสันของภาพประกอบต้องนุ่มนวลมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนวัยนี้เป็นวัยที่รู้ความใสวยงามของธรรมชาติและสัตว์ได้เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก ๑๑ - ๑๖ ขวบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างจะต้องระดมความเพียรในการเขียนภาพประกอบหนังสือให้เขาด้วยความรู้สึกนึกคิดที่สุขุมรอบคอบอย่างยิ่งเป็นพิเศษ เด็กระยะนี้กำลังจะถึงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้นการเขียนภาพการ์ตูนประกอบเรื่องใหก้คนรุ่นนี้ดูตามความรู้สึกของผมแล้ว มีความรู้สึกว่ายากลำบากยิ่งกว่าการเขียนภาพการ์ตูนให้ผู้ใหญ่อ่านเสียอีก เด็กระยะนี้เป็นผู้ช่างคิดช่างค้น มีสมองที่กำลังเจริญอย่างรุนแรง ฉะนั้นการที่จะเขียนภาพให้เขาดูจึงต้องการความสุขุม รอบคอบและมากด้วยความเพียรอย่างยิ่ง ฉะนั้น การที่จะเขียนภาพให้เขาดูจึงต้องการความสุขุมรอบคอบ และมากด้วยความเพียรอย่างยิ่ง ผู้เขียนเอาตัวของตัวเองเป็นที่สังเกตว่า ระยะที่อายุอยู่ในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังดูดซึมสิ่งแวดล้อมอย่างกระหาย ฉะนั้นหากได้พบภาพเขียนหรือบทประพันธ์ บทกลอนใดๆ ในระยะนั้นที่ประทับใจ แล้ว ความฝังใจจะเกิดขึ้นทันที และจะประทับใจอยู่กับตัวชั่วชีวิต ทั้งในประสบการณ์ด้านดีและด้านร้าย ฉะนั้นการ์ตูนให้เด็กวัย ๑๑ - ๑๖ ขวบ อ่านนี้ จากประสบการณ์ด้วยตนเอง จึงเตือนตนอยู่เสมอมิได้ลืมว่าทั้งก่อประโยชน์มหาศาลให้แก่เด็กและอาจในทางตรงกันข้ามก็ได้"
........5.4 การออกแบบตัวอักษรหัวเรื่อง
ประวัติความเป็นมาของตัวอักษร
ตัวอักษรมนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ตัวอักษรสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อทางการติดต่อ ตัวอักษรสมัยโบราณส่วนมากจะวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่น อักษรของอียิปต์ ชื่อว่าอักษรไฮเออโรกลิฟิค (Hieroglyphic) ประมาณ 6,000 ปีล่วงมาแล้ว ยังมีอักษรที่เรียกว่า “อักษรลิ่ม” (Cuneiform) ของชาวซูเมอร์เรียน ซึ่งมีความเก่าแก่เท่า ๆ กันกับอักษรของอียิปต์โบราณ ระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นเอง ในทวีปเอเซีย ประเทศจีน และอินเดีย ก็ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
ตัวอักษรที่เป็นสากลส่วนมากใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ต้นตระกูลของอักษรภาษาอังกฤษ คือ อักษรโฟนิเซีย ซึ่งแพร่หลายอย่างกว้างขวางในยุโรป ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวกรีกได้นำไปใช้เป็นหลักการเขียนตัวอักษร แล้วนำไปสู่พวกโรมันแก้ไขปรับปรุงจนกลายเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
การประดิษฐ์ตัวอักษรของไทย เริ่มในสมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงดัดแปลงมาจากอักษรของขอมและอักษรมอญโบราณ นำมาประดิษฐ์ใหม่เป็นตัวอักษรของชาติไทย ระยะแรกพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เรียงแถวกันในบรรทัดเดียวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ซึ่งบางตัวอยู่ข้างล่าง ข้างบน ข้างหน้า และข้างหลัง ดังปรากฏที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะของตัวอักษรไทย นักเรียนควรจะศึกษารูปแบบลักษณะของตัวอักษรภาษาไทย ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบทางราชการ ได้แก่ ตัวอักษรที่มีลักษณะแบบเรียบ ๆ อ่านง่าย นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับทางราชการ องค์การต่าง ๆ ใช้ในการพิมพ์หนังสือเรียน เป็นแบบที่เรียบร้อยแสดงถึงความเป็นระเบียบแบบแผนของความเป็นไทย ลักษณะของตัวอักษรจะเป็นหัวกลม เช่น
โรงเรียนแม่ใจวิทยาคม
2. รูปแบบอาลักษณ์ หมายถึง แบบตัวอักษรที่ใช้ในราชสำนักมาแต่โบราณ นับแต่พระบรมราชโองการ เอกสารทางราชการ หรือการจารึกเอกสารสำคัญ เช่นรัฐธรรมนูญ งานเกียรติยศต่าง ๆ
3. รูปแบบสมเด็จกรมพระนริศฯ หมายถึง ลักษณะตัวอักษรที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้คิดรูปแบบขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะเป็นแบบที่ใช้เขียนได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และเหมาะสมกับการเขียนด้วยปากกา สปีดบอลล์ พู่กันแบน และสีเมจิกชนิดปลายตัด หรือที่เรียกว่า อักษรหัวตัด
4. รูปแบบประดิษฐ์ หมายถึง รูปแบบตัวอักษรที่เกิดจากการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานประเภทต่าง ๆ เช่น งานออกแบบโฆษณา หัวเรื่องหนังสือ ฯลฯ ซึ่งออกแบบให้เป็นแบบเหลี่ยม แบบวงกลม แบบโค้ง และแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
ขนาดและสัดส่วนของตัวอักษร
ตัวอักษรไทยมีขนาดไม่เท่ากัน พอจะแบ่งได้ดังนี้
1. แบบอักษรตัวเต็ม ได้แก่ พยัญชนะที่มีขนาดสัดส่วนที่มีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยมากพยัญชนะไทยจะมีขนาดตัวเต็ม เช่น ก ข ค ง จ ฯลฯ
2. แบบตัวอักษรตัวครึ่ง ได้แก่ พยัญชนะที่มีขนาดสัดส่วนที่มีความกว้างกว่าตัวเต็ม ในแบบที่ 1 อีกประมาณครึ่งตัว มีอยู่ด้วยกัน 4 ตัว คือ ณ ญ ฒ ฌ
3. แบบอักษรครึ่งตัว ได้แก่ อักษรที่เป็นสระมีความกว้างประมาณครึ่งตัวอักษรของแบบที่ 1 เช่น ะ า เ โ ไ ใ
แบบตัวอักษรทั้ง 3 แบบ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงหลักเกณฑ์เบื้องต้นเท่านั้น เมื่อนักเรียนเกิดความเข้าใจดีแล้ว ก็จะเกิดความชำนาญต่อไปสามารถดัดแปลงได้อีกมากมายหลายแบบไม่มีที่สิ้นสุด
ขนาดและสัดส่วนของตัวอักษร สามารถออกแบบให้เกิดความเหมาะสมได้อีก เช่น
1. แบบปกติ คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความหนา ช่องว่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรมีขนาดเท่า ๆ กัน ไม่แคบ หรือห่างกันเกินไป
2. แบบตัวกว้าง คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความกว้างของช่องว่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรขยายกว้างกว่าปกติ เพื่อขยายให้เกิดความพอดีกับบริเวณที่ต้องการออกแบบตัวอักษรลงบนพื้นที่กว้างกว่าปกติ
3. แบบตัวแคบ คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความกว้างของช่องว่างในตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรแคบกว่าปกติ เพื่อให้เกิดความพอดีกับเนื้อที่ที่จะใช้ออกแบบตัวอักษรลงในงานที่มีพื้นที่แคบได้อย่างเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษร
การออกแบบตัวอักษร นักเรียนจะต้องรู้จักกำหนดความสูง ความกว้าง และความยาวของประโยค ตัวอักษรที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อที่อย่างเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษรแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ตีเส้นกำกับบรรทัด (Guide line) คือ การขีดเส้นตามแนวนอน ห่างกันตามความสูงของตัวอักษร เว้นด้านล่าง และด้านบน เหลือไว้พอสมควร เพื่อเขียนสระและวรรณยุกต์ เส้นกำกับบรรทัดนี้ควรขีดให้เบาพอมองเห็น เพื่อใช้เป็นแนวร่างตัวอักษรให้มีขนาดตามต้องการ
2. ตีเส้นร่างตามขนาดและจำนวนตัวอักษร ในการออกแบบตัวอักษรลงบริเวณใด เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม จึงควรนับจำนวนตัวอักษรที่จะเขียนทั้งหมด แล้วจึงคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดสำหรับบรรจุตัวอักษรลงไป แล้วตีเส้นร่างเบา ๆ ตามขนาดและจำนวนตัวอักษรทั้งหมด
3. การร่างตัวอักษร การร่างควรเขียนด้วยเส้นเบา เพื่อสะดวกต่อการลบ เมื่อเกิดการผิดพลาดหรือเมื่องานเสร็จแล้ว จะได้ลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายไม่สกปรก
4. การลงสี เมื่อได้แบบตัวอักษรที่แน่นอนแล้วจึงลงสี หรือหมึก ให้เกิดความสวยงามตามต้องการ
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน
........1.1 ความหมาย ประเภท ของสื่อการเรียนการสอน
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
ในการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีเจตนาที่จะถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องอาศัยตัวกลางหรือพาหะ ซึ่งเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมโยงที่สำคัญ อาจเรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนอุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ สื่อการสอน สื่อการเรียน ซึ่งแต่ละคำหมายถึงตัวกลางทั้งสิ้น
เดิมใช้คำว่า “อุปกรณ์การสอน” (Teaching Aids) ซึ่งเน้นถึงสิ่งที่นำมาใช้ช่วย ในการสอน แต่เนื่องจากสิ่งที่นำมาใช้ช่วยในการสอนนั้นส่วนใหญ่ต้องใช้ประสาทตาและประสาทหูในการรับรู้ จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า “โสตทัศนอุปกรณ์” หรือ “โสตทัศนูปกรณ์” (Audio-Visual Aids) นอกจากนี้ยังมีคำที่เกี่ยวข้องและมีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น Audio-Visual Education, Educational Media, Instructional Media, Instructional Material, Instructional Technology, Audio-Visual Media, Audio-Visual Communication, Communication Media, Teaching Aids, Technology for Education
เมื่อพิจารณารูปแบบของการเรียนการสอนจึงได้นำคำว่า “สื่อ” (Media) มาใช้แทน คำว่า “อุปกรณ์” ทั้งนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำว่า สื่อ หมายถึง ทำการติดต่อ ให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน
เมื่อมีการนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน หากเน้นที่ผู้สอนจะเรียกว่า สื่อการสอน (Teaching Media) หากเน้นที่ผู้เรียนจะเรียกว่า สื่อการเรียน (Learning Media) โดยยึดถือเอาผู้ใช้สื่อเป็นหลัก แต่เนื่องจากการเรียนและการสอนมักจะเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน จึงน่าจะเรียกตัวกลางที่ใช้ในการเรียนการสอนว่า
“สื่อการเรียนการสอน” (Instruction Media )
ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเภทของสื่อการสอน
เอ็ดการ์ เดล จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษา เรียงลำดับจากประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมไปสู่ประสบการณ์ที่เป็นนามธรรม โดยยึดหลักว่า คนเราสามารถเข้าใจสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ดีและเร็วกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรมซึ่งเรียกว่า "กรวยแห่งประสบการณ์" (Cone of Experiences)
โรเบิร์ต อี. ดี. ดีฟเฟอร์ แบ่งประเภทของสื่อการสอน ดังนี้
1. วัสดุที่ไม่ต้องฉาย ได้แก่ รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ ของจริง ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง แผนที่ กระดาษสาธิต ลูกโลก กระดานชอล์ค กระดานนิเทศ กระดานแม่เหล็ก การแสดงบทบาท นิทรรศการ การสาธิต และการทดลองเป็นต้น
วัสดุฉายและเครื่องฉาย ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใส ภาพทึบ ภาพยนตร์ และเครื่องฉายต่าง ๆ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ และฟิล์มสตริป เครื่องฉายกระจกภาพ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพทึบ
2. แสง เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ เป็นต้น
3. โสตวัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ แผ่นเสียง เครื่องเล่นจานเสียง เทป เครื่องบันทึกเสียง เครื่องขยายเสียง และวิทยุ เป็นต้น
ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ได้แบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอน ดังนี้
ก. ประเภทวัสดุโสตทัศน์ (Audio-Visual Materials)
1. ประเภทภาพประกอบการสอน(Picture Instructional Materials)
I. ภาพที่ไม่ต้องฉาย (Unprojected Pictures)
i. ภาพเขียน (Drawing)
ii. ภาพแขวนผนัง (Wall Pictures)
iii. ภาพตัด (Cut-out Pictures)
iv. สมุดภาพ (Pictorial Books, Scrapt Books)
v. ภาพถ่าย (Photographs)
II. ภาพที่ต้องฉาย (Project Pictures)
i. สไลด์ (Slides)
ii. ฟิล์มสตริป (Filmstrips)
iii. ภาพทึบ (Opaque Projected Pictures)
iv. ภาพโปร่งแสง (Transparencies)
v. ภาพยนตร์ 16 มม., 8 มม., (Motion Pictures)
vi. ภาพยนตร์ (Video Tape)
2. ประเภทวัสดุอุปกรณ์ลายเส้น (Graphic Instructional Materials)
I. แผนภูมิ (Charts)
II. กราฟ (Graphs)
III. แผนภาพ (Diagrams)
IV. โปสเตอร์ (Posters)
V. การ์ตูน (Cartoons, Comic strips)
I. การแสดงหุ่น (Pupetry)
ข. ประเภทเครื่องมือโสตทัศนูปกรณ์ (Audio-Visual Equipments)
1. เครื่องฉายภาพยนตร์ 16 มม. , 8 มม.
2. เครื่องฉายสไลด์และฟิล์มสตริป (Slide and Filmstrip Projector)
3. เครื่องฉายภาพทึบแสง (Opaque Projectors)
4. เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector)
5. เครื่องฉายกระจกภาพ (3 1/4 "x 4" หรือ Lantern Slide Projector)
6. เครื่องฉายภาพจุลทัศน์ (Micro-Projector)
7. เครื่องเล่นจานเสียง (Record Plays)
8. เครื่องเทปบันทึกภาพ (Video Recorder)
9. เครื่องรับโทรทัศน์ (Television Receiver)
10. จอฉายภาพ (Screen)
11. เครื่องรับวิทยุ(Radio Receive)
12. เครื่องขยายเสียง(Amplifier)
13. อุปกรณ์เทคโนโลยีแบบใหม่ต่างๆ (Modern Instructional Technology Devices) เช่น โทรทัศนศึกษา ห้องปฏิบัติการภาษา โปรแกรมเรียน (Programmed Learning) และอื่นๆ
จากการศึกษาถึงความสำคัญ ตลอดจนการแบ่งประเภทและชนิดของสื่อการสอนข้างต้น
ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสื่อการสอนที่มีบทบาทในการทำให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพ อย่างไรก็ดี แม้สื่อการสอนจะมีความสำคัญและมีประโยชน์มาก แต่ก็ต้องอาศัยเทคนิคในการใช้สื่อการสอนด้วย
........1.2 คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน
คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน 1) คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
2)คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม
สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร
สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนที่มีต่อผู้เรียน
ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน
ช่วยให้การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว
ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้
ช่วยให้เกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
ช่วยให้สมมารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้
ช่วยให้ผู้เรียน เรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน
ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่วยต่อการเรียน
........1.3 หลักการเลือกและการใช้สื่อการเรียนการสอน
การใช้สื่อการเรียนการสอนการที่ผู้สอนจะนำสื่อการสอนมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์นั้น มีหลักการที่ผู้สอนควรมีความเข้าใจในการใช้สื่อการสอน ซึ่งแบ่งหลักการออกเป็น 4 ขั้นตอนตามช่วงเวลาของการใช้สื่อการสอนดังนี้
หลักการใช้สื่อการสอน
การที่ผู้สอนจะนำสื่อการสอนมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์นั้น มีหลักการที่ผู้สอนควรมีความเข้าใจในการใช้สื่อการสอน ซึ่งแบ่งหลักการออกเป็น 4 ขั้นตอนตามช่วงเวลาของการใช้สื่อการสอนดังนี้
1. การวางแผน (Planning)
การใช้สื่อการสอนต้องมีการวางแผน โดยในขั้นของการวางแผนคือการพิจารณาว่าจะเลือกใช้สื่อใดในการเรียนการสอน ซึ่งรายละเอียดของการเลือกใช้สื่อการสอนได้กล่าวไว้ในหัวข้อหลักการเลือกใช้สื่อการสอน อย่างไรก็ตามการวางแผนเป็นขั้นตอนแรก และเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก ผู้ใช้สื่อการสอนควรเลือกใช้สื่อการสอนโดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน หากการวางแผนผิดพลาด ก็จะทำให้การใช้สื่อการสอนล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้ปฏิบัติการใช้สื่อการสอนเลย
2. การเตรียมการ (Preparation)
เมื่อได้วางแผนเลือกใช้สื่อการสอนแล้ว ขั้นต่อมาคือการเตรียมการสิ่งต่างๆ เพื่อให้การใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามวัตถุประสงค์ ก่อนใช้สื่อการสอน ผู้ใช้ควรเตรียมความพร้อมในสิ่งต่างๆ ดังนี้
2.1 การเตรียมความพร้อมของผู้สอน
เพื่อให้ภาพของผู้สอนในการใช้สื่อการสอนเป็นไปอย่างดีและราบรื่น เป็นที่ประทับใจต่อผู้เรียน และสำคัญที่สุดคือ การสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้สอน ดังนั้นผู้สอนควรมีการเตรียมพร้อมในการใช้สื่อการสอน เช่น การเตรียมบทบรรยายประกอบสื่อ การจัดลำดับการใช้สื่อ การตรวจเช็คสภาพหรือทดลองสื่อก่อนการใช้งานจริง
2.2 การเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน
ก่อนใช้สื่อการสอน ผู้สอนควรทำความเข้าใจกับผู้เรียนถึงกิจกรรมการเรียน และลักษณะการใช้สื่อการสอน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนทราบบทบาทของตน และเตรียมตัวที่จะมีส่วนร่วมกับกิจกรรมหรือตอบสนองต่อสื่อ
2.3 การเตรียมความพร้อมของสื่อและอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ร่วมกัน
สื่อการสอนบางอย่างต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์หรือเครื่องมืออื่นด้วย ดังนั้น ผู้ใช้สื่อ ควรทดสอบการใช้สื่อก่อนใช้งานจริง เช่น การตรวจสอบแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า การตรวจสอบการเสียบปลั๊กหรือสายไฟต่างๆ เป็นต้น
2.4 การเตรียมความพร้อมของสภาพแวดล้อมและห้องสอน
สื่อแต่ละอย่างเหมาะสมที่จะใช้กับสภาพห้องหรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป เช่น ขนาดของห้องเรียนควรเหมาะสมกับสื่อที่ใช้ สภาพของแสงหรือเสียงก็ควรจัดให้เหมาะสมเช่นกัน
3. การนำเสนอสื่อ (Presentation)
ในช่วงการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน อาจแบ่งช่วงเวลาออกได้เป็น 3 ช่วง ได้แก่ ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน และช่วงสรุป ในทุกช่วงเวลาสามารถนำสื่อการสอนเข้ามาใช้อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการรับรู้หรือการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เลือกใช้สื่อการสอนควรมีความเข้าใจว่าสื่อการสอนที่นำมาใช้ในแต่ละช่วงเวลาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ใด
1. ช่วงนำเข้าสู่บทเรียน
การใช้สื่อการสอนช่วงนำเข้าสู่บทเรียน เป็นการใช้สื่อเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียนในการที่จะเริ่มต้นเรียน และเพื่อสร้างความน่าสนใจให้แก่บทเรียน
2. ช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน
การใช้สื่อการสอนในช่วงสอนเนื้อหาบทเรียน เป็นการใช้สื่อเพื่อถ่ายทอดสาระ ความรู้ หรือเนื้อหาบทเรียนให้แก่ผู้เรียน เพื่อสร้างให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
3. ช่วงสรุปบทเรียน
ในช่วงสุดท้ายของการสอน ควรมีการใช้สื่อการสอนเพื่อสรุปเนื้อหาที่สำคัญของบทเรียน เพื่อช่วยผู้เรียนในการสรุปสาระที่ควรจำ หรือเพื่อช่วยโยงไปสู่เนื้อหาในบทต่อไป
นอกจากการใช้สื่อการสอนให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของช่วงการนำเสนอแล้ว ในขณะที่ใช้สื่อยังมีหลักการที่ควรปฏิบัติดังนี้
3.1 ใช้สื่อการสอนตามลำดับที่วางแผนไว้ หากพบปัญหาเฉพาะหน้าควรแก้ไขลำดับการนำเสนอในภาพรวมให้มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด
3.2 ควบคุมเวลาการใช้สื่อให้เป็นไปตามแผนที่วางอย่างไว้อย่างดีแล้ว คือใช้เวลาให้เหมาะสมกับเนื้อหา ไม่นำเสนอเร็วหรือช้าเกินไป
3.3 ไม่ควรให้ผู้เรียนเห็นสื่อก่อนการใช้ เพราะอาจทำให้ผู้เรียนหมดความตื่นเต้นหรือหมดความน่าสนใจ หรือไม่ควรนำเสนอสื่อหลาย ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เพราะสื่อหนึ่งอาจแย่งความสนใจจากอีกสื่อหนึ่ง หรืออาจทำให้ผู้เรียนสับสน หรืออาจมีปัญหาในเรื่องการรับรู้ของผู้เรียนที่ไม่สามารถรับรู้ได้พร้อมๆ กัน
3.4 ทำกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบการใช้สื่อการสอนตามขั้นตอนที่วางแผนไว้ เช่น การระดมสมอง การตั้งคำถาม การอภิปราย เป็นต้น
3.5 การนำเสนอควรมีจุดเน้นและอธิบายรายละเอียดในส่วนที่สำคัญ ในขณะนำเสนอ โดยเฉพาะจุดที่ผู้เรียนไม่เข้าใจและสับสน
3.6 การนำเสนอด้วยสื่อควรออกแบบให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับการนำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิสัมพันธ์ด้านการใช้ความคิด ผู้เรียนควรมีโอกาสมีส่วนร่วมกับกิจกรรมหรือการใช้สื่ออย่างทั่วถึง
4. การติดตามผล (Follow - up)
ภายหลังการใช้สื่อการสอนแล้ว ผู้สอนควรทำการซักถาม ตอบคำถามผู้เรียน หรืออภิปรายเกี่ยวกับเนื้อหาของสื่อที่ได้นำเสนอไปแล้ว เพื่อสรุปถึงประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับ และเพื่อทำการประเมินผู้เรียนว่ามีความเข้าใจบทเรียนเพียงใด และเพื่อประเมินประสิทธิภาพของสื่อการสอน ตลอดจนวิธีการใช้สื่อการสอนของครูว่า มีข้อดี ข้อบกพร่อง หรือสิ่งที่ควรแก้ไขต่อไปอย่างไรบ้าง
หน่วยที่ 2 จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อการเรียนการสอน
........2.1 จิตวิทยาการรับรู้
........2.2 จิตวิทยาการเรียนรู้
........2.3 จิตวิทยาพัฒนาการ
หน่วยที่ 3 การสื่อสาร
........3.1 ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็นแหล่งหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง
2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด เหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้
5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้ และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย
6. ปฏิกริยาสนองกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่งโดยผู้รับอาจแสดงอาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า การพูดโต้ตอบ หรือการแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่า ผู้รับมีความพอใจหรือมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่ปฏิกริยาสนองกลับนี้คือข้อมูลย้อนกลับอันเกิดจากการตอบสนองของผู้รับที่ส่งกลับไปยังผู้ส่งนั่นเอง
กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวม
แนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส (Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels) ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสารที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการสื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร
คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
........3.2 รูปแบบของการสื่อสาร
รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
2.1 การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็นต้น
การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารทางเดียว
การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือในการสื่อสารระบบวงเปิด (Open-Loop System) นี้ สามารถให้ได้โดยใช้การฉายภาพยนตร์ วีดิทัศน์ การใช้โทรทัศน์วงจรปิดในการสอนแก่ผู้เรียนจำนวนมากในห้องเรียนขนาดใหญ่ หรือการสอนโดยใช้วิทยุและโทรทัศน์การศึกษาแก่ผู้เรียนที่เรียนอยู่ที่บ้าน การแปลความหมายของผู้เรียนต่อสิ่งเร้าก่อนจะมีการตอบสนองที่เหมาะสมนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งเพราะถ้าขอบข่ายประสบการณ์ของผู้เรียนมีน้อยหรือแตกต่างไปจากผู้สอนมากจะทำให้การเรียนนั้นไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
รูปแบบของสิ่งเร้า การแปลความหมาย และการตอบสนอง
ในการสื่อสารทางเดียว โดยไม่มีปฏิกริยาสนองกลับส่งไปยังผู้สอนหรือสิ่งเร้า ดังนั้น การเรียนการสอนโดยใช้ผู้สอนหรือใช้สื่อการสอนในรูปแบบการสื่อสารทางเดียวหรือการสื่อสารในระบบวงเปิดนี้ จึงควรจะมีการอธิบายความหมายของเนื้อหาบทเรียนให้ผู้เรียนเข้าใจก่อนการเรียนหรืออาจจะมีการอภิปรายภายหลังจากการเรียนหรือดูเรื่องราวนั้นแล้วก็ได้ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและแปลความหมายในสิ่งเร้านั้นอย่างถูกต้องตรงกันจะได้มีการตอบสนองและเกิดการเรียนรู้ได้ในทำนองเดียวกันด้วย
2.2 การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication) เป็นการสื่อสารหรือการสื่อความหมายที่ผู้รับมีโอกาสตอบสนองมายังผู้ส่งได้ในทันที โดยที่ผู้ส่งและผู้รับอาจจะอยู่ต่อหน้ากันหรืออาจอยู่คนละสถานที่ก็ได้ แต่ทั้งสองฝ่ายจะสามารถมีการเจรจาหรือการโต้ตอบกันไปมา โดยที่ต่างฝ่ายต่างผลัดกันทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในเวลาเดียวกัน เช่น การพูดโทรศัพท์ การประชุม เป็นต้น
การเรียนรู้ในรูปแบบการสื่อสารสองทาง
การให้สิ่งเร้าแก่ผู้เรียนในรูปแบบการสื่อสารสองทงหรือการสื่อสารระบบวงปิด (Closed Loop System) นี้ สามารถให้ได้โดยการใช้อุปกรณ์ประเภทเครื่องช่วยสอน (Teaching Machine) หรือการอภิปรายกันในระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน ทั้งนี้เพราะในสถานการณ์ของการสื่อสารแบบนี้ เนื้อหาข้อมูลต่างจะผ่านอยู่แต่เฉพาะในระหว่างกลุ่มบุคคลที่อยู่ในที่นั้น โดยถ้าเป็นการเรียนโดยการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือการใช้เครื่องช่วยสอน เนื้อหาความรู้จะถูกส่งจากเครื่องไปยังผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนทำการตอบสนองโดยส่งคำตอบหรือข้อมูลกลับไปยังเครื่องอีกครั้งหนึ่ง หรือถ้าเป็นการอภิปรายในห้องเรียนผู้สอนและผู้เรียนจะมีการโต้ตอบเนื้อหาความรู้กัน เป็นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันเช่นเดียวกันการใช้อุปกรณ์การสอนดังกล่าวมาแล้วการใช้การสื่อสารรูปแบบนี้ในการเรียนการสอนมีข้อดีที่สำคัญหลายประการโดยเมื่อผู้รับมีการตอบสนองแล้ว จะเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้ส่งและมีปฏิกริยาสนองกลับส่งไปยังผู้ส่งเดิมซึ่งจะกลายเป็นผู้รับ
........3.3 แบบจำลองของการสื่อสาร
แบ่งตามแนวคิดได้ดังนี้
แลสแวลล์ (Lasswell)
เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันที่ได้ทำการวิจัยในเรื่องการสื่อสารมวลชนไว้ ในปี ค.ศ. 1948 และได้คิดสูตรการสื่อสารที่ถึงพร้อมด้วยกระบวนการสื่อสารที่สอดคล้องกัน โดยในการสื่อสารนั้นจะต้องตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้คือ
สูตรการสื่อสารของแลสแวลล์เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายและเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไปโดยสามารถนำมาเขียนเป็นรูปแบบจำลองและเปรียบเทียบกับองค์ประกอบของการสื่อสารได้ดังนี้
เปรียบเทียบการสื่อสารของแลสแวลล์กับองค์ประกอบของการสื่อสาร
ในการที่จะจัดให้การเรียนการสอนเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพดีนั้น เราสามารถนำสูตรของแลสแวลล์มาใช้ได้เช่นเดียวกับการสื่อสารธรรมดา (Coppen 1974:15-17) คือ
1. ใคร (Who) เป็นผู้ส่งหรือผู้ทำการสื่อ
2. พูดอะไร ด้วยวัตถุประสงค์อะไร (Says what, with what purpose) เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาข่าวสารที่ส่ง
3. โดยใช้วิธีการและช่องทางใด (By what means, in what channel) ผู้ส่งทำการส่งข่าวสารโดยการพูด การแสดงกิริยาท่าทาง ใช้ภาพ ฯลฯ หรืออาจจะใช้อุปกรณ์ระบบไฟ
4. ส่งไปยังใคร ในสถานการณ์อะไร (To whom, in what situation) ผู้ส่งจะส่งข่าวสารไปยังผู้รับเป็นใครบ้าง เนื่องในโอกาสอะไร
5. ได้ผลอย่างไรในปัจจุบันและอนาคต (With what effect, immediate and long term?) การส่งข่าวสารนั้นเพื่อให้ผู้รับฟังผ่านไปเฉย ๆ หรือจดจำด้วยซึ่งต้องอาศัยเทคนิควิธีการที่แตกต่างกัน
เบอร์โล (Berlo)
เป็นผู้คิดกระบวนการของการติดต่อสื่อสารไว้ในลักษณะรูปแบบจำลอง S M C R Model (ดังรูป) (Berlo 1960:40-71) อันประกอบด้วย
1. ผู้ส่ง (Source) ต้องเป็นผู้ที่มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การเข้ารหัส" (encode) เนื้อหาข่าวสาร มีทัศนคติที่ดีต่อผู้รับเพื่อผลในการสื่อสาร มีความรู้อย่างดีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารที่จะส่ง และควรจะมีความสามารถในการปรับระดับของข้อมูลนั้นให้เหมาะสมและง่ายต่อระดับความรู้ของผู้รับ ตลอดจนพื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับผู้รับด้วย
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message) เกี่ยวข้องทางด้านเนื้อหา สัญลักษณ์ และวิธีการส่งข่าวสารนั้น
3. ช่องทางในการส่ง (Channel) หมายถึง การที่จะส่งข่าวสารโดยการให้ผู้รับได้รับข่าวสารข้อมูลโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง คือ การได้ยิน การดู การสัมผัส การลิ้มรส หรือการได้กลิ่น
4. ผู้รับ (Receiver) ต้องเป็นผู้มีทักษะความชำนาญในการสื่อสาร โดยมีความสามารถใน "การถอดรหัส" (decode) สาร เป็นผู้ที่มีทัศนคติ ระดับความรู้ และพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมเช่นเดียวหรือคล้ายคลึงกันกับผู้ส่งจึงจะทำให้การสื่อความหมายหรือการสื่อสารนั้นได้ผล
ตามลักษณะของ S M C R Model นี้ มีปัจจัยสำคัญที่มีความสำคัญต่อขีดความสามารถของผู้ส่งและผู้รับที่จะทำให้การสื่อความหมายนั้นได้ผลสำเร็จหรือไม่เพียงใด ได้แก่
1.ทักษะในการสื่อสาร (Communication Skills) หมายถึง ทักษะซึ่งทั้งผู้ส่งและผู้รับควรจะมีความชำนาญในการส่งและการรับสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันได้อย่างถูกต้อง
2. ทัศนคติ (Attiudes) เป็นทัศนคติของผู้ส่งและผู้รับซึ่งมีผลต่อการสื่อสาร ถ้าผู้ส่งและผู้รับมีทัศนคติที่ดีต่อกันก็จะทำให้การสื่อสารได้ผลดี ทั้งนี้เพราะทัศนคติย่อมเกี่ยวโยงไปถึงการยอมรับซึ่งกันและกันระหว่างผู้ส่งละผู้รับด้วย
3. ระดับความรู้ (Knowledge Levels) ถ้าผู้ส่งและผู้รับมีระดับความรู้ที่เท่าเทียมกันก็จะทำให้การสื่อสารนั้นลุล่วงไปด้วยดี แต่ถ้าหากความรู้ของผู้ส่งและผู้รับมีระดับที่แตกต่างกัน ย่อมจะต้องมีการปรับความยากง่ายของข้อมูลที่จะส่งในด้านของความยากง่ายของภาษาและถ้อยคำสำนวนที่ใช้
4. ระบบสังคมและวัฒนธรรม (Socio-Culture Systems) ระบบสังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติเป็นสิ่งที่มีส่วนกำหนดพฤติกรรมของประชาชนในชาตินั้น ซึ่งเกี่ยวข้องไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติ สังคมและวัฒนธรรมในแต่ละชาติย่อมมีความแตกต่างกันไป
แชนนันและวีเวอร์ (Shannon and Weaver)
ได้คิดรูปแบบจำลองของการสื่อสารขึ้นในลักษณะของกระบวนการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรง (Shannon and Weaver 1949:7) (รูปที่ 1) กระบวนการนี้เริ่มด้วยผู้ส่งซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งเนื้อหาข่าวสารเพื่อส่งไปยังผู้รับ โดยผ่านทางเครื่องส่งหรือตัวถ่ายทอดในลักษณะของสัญญาณที่ถูกส่งไปในช่องทางต่าง ๆ กันแล้วแต่ลักษณะของการส่งสัญญาณแต่ละประเภท เมื่อทางฝ่ายผู้รับได้รับสัญญาณแล้ว สัญญาณที่ได้รับจะถูกปรับให้เหมาะสมกับเครื่องรับหรือการรับเพื่อทำการแปลสัญญาณให้เป็นเนื้อหาข่าวสารนั้นอีกครั้งหนึ่งให้ตรงกับที่ผู้ส่งส่งมา ในขั้นนี้เนื้อหาที่รับจะไปถึงจุดหมายปลายทางคือผู้รับตามที่ต้องการ แต่ในบางครั้งสัญญาณที่ส่งไปอาจถูกรบกวนหรืออาจมีบางสิ่งบางอย่างมาขัดขวางสัญญาณนั้น ทำให้สัญญาณที่ส่งไปกับสัญญาณที่ไดรับมีความแตกต่างกัน เป็นเหตุทำให้เนื้อหาข่าวสารที่ส่งจากแหล่งข้อมูลไปยังจุดหมายปลายทางอาจจะผิดกันไป นับเป็นความล้มเหลวของการสื่อสารเนื่องจากข้อมูลที่ส่งไปกับข้อมูลที่ได้รับไม่ตรงกัน อันจะทำให้เกิดการแปลความหมายผิดหรือความเข้าใจในการสื่อสารกันได้
จากรูปแบบจำลองนี้พิจารณาได้ว่า แซนนันและวีเวอร์สนใจว่าเมื่อมีการสื่อสารกัน จะมีอะไรเกิดขึ้นกับข้อมูลข่าวสารที่ส่งไปนั้นไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยผ่านอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าหรือการส่งโดยใช้สัญญาณต่าง ๆ เช่น เมื่อมีการเปิดเพลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ เสียงเพลงนั้นจะถูกแปลงเป็นสัญญาณและส่งด้วยวิธีการ modulation จากสถานีวิทยุไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยที่เครื่องรับจะแปลงสัญญาณคลื่นนั้นเป็นเพลงให้ผู้รับได้ยิน ในขณะที่สัญญาณถูกส่งไปจะมีสิ่งต่าง ๆ หลายอย่างมาเป็นอุปสรรคในการส่งโดยการรบกวนสัญญาณนั้นให้เสียไป เราจึงเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า "สิ่งรบกวน" (Noise Source) เช่น ในการส่งวิทยุระบบ AM สัญญาณจะถูกรบกวนโดยไฟฟ้าในบรรยากาศ หรือในขณะที่ครูฉายภาพยนตร์ในห้องเรียน การรับภาพและเสียงของผู้เรียนจะถูกรบกวนโดยสิ่งรบกวนหลายอย่าง
ชแรมม์ (Schramm)
ได้นำรูปแบบจำลองการสื่อสารลักษณะกระบวนการสื่อสารทางเดียวเชิงเส้นตรงของแซนนันและวีเวอร์มาใช้เพื่อเป็นแนวทางในการอธิบายการสื่อสารที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน (Schramm 1954 : 116) โดยเน้นถึงวัตถุประสงค์ของการสอน ความหมายของเนื้อหาข้อมูล และการที่ข้อมูลได้รับการแปลความหมายอย่างไร นอกจากนี้ ชแรมม์ยังให้ความสำคัญของการสื่อความมหาย การรับรู้และการแปลความหมายของสัญลักษณ์ ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนการสอน ตามลักษณะรูปแบบจำลองของชแรมม์นี้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นได้อย่างดีมีประสิทธิภาพเฉพาะในส่วนที่ผู้ส่งและผู้รับทั้งสองฝ่ายต่างมีวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ความรู้ ฯลฯ ที่สอดคล้องคล้ายคลึงและมีประสบการณ์ร่วมกัน จึงจะทำให้สามารถเข้าใจความหมายที่สื่อกันนั้นได้ ทั้งนี้เพราะผู้ส่งสามารถเข้ารหัสและผู้รับสามารถถอดรหัสเนื้อหาข่าวสารได้เฉพาะในขอบข่ายประสบการณ์ที่แต่ละคนมีอยู่
เนื่องจากในการสื่อสารนั้นเราไม่สามารถส่ง "ความหมาย" (Meaning) ของข้อมูลไปยังผู้รับได้สิ่งที่ส่งไปเป็นเพียง "สัญลักษณ์" (symbol) ของความหมายนั้น เช่น คำพูด รูปภาพ ฯลฯ ดังนั้น เมื่อมีการสื่อสารเกิดขึ้น ผู้ส่งต้องพยายามเข้ารหัสสารซึ่งเป็น "สัญลักษณ์" ต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับเข้าใจได้โดยง่ายซึ่งสารแต่ละสารจะประกอบด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ มากมาย โดยที่สัญลักษณ์แต่ละตัวในสารนั้นจะเป็นตัวบ่งบอกถึง "สัญญาณ" (signal) ของบางสิ่งบางอย่างซึ่งจะทราบได้โดยประสบการณ์ของคนเรา ผู้ส่งต้องส่งสัญลักษณ์เป็นคำพูด ภาษาเขียน ภาษามือ ฯลฯ เพื่อถ่ายทอดความหมายของสารที่ต้องการจะส่ง โดยพยายามที่จะเชื่อมโยงเนื้อหาสารเข้ากับประสบการณ์ที่สอดคล้องกันทั้งสองฝ่าย เพื่อให้ผู้รับสามารถแปลและเข้าใจความหมายของสัญลักษณ์เหล่านั้นได้ง่ายในขอบข่ายประสบการณ์ของตน ตัวอย่างเช่น ถ้าผู้ส่งต้องการส่งสารของคำว่า "คอมพิวเตอร์" ให้ผู้รับที่ยังไม่เคยเห็นคอมพิวเตอร์มาก่อน ผู้ส่งต้องพยายามใช้สัญลักษณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการอธิบายด้วยคำพูด ภาพ หรือสัญลักษณ์อื่นใดก็ตามเพื่อให้ผู้รับสามารถเข้าใจและมีประสบการณ์ร่วมกับผู้ส่งได้มากที่สุดเพื่อเข้าใจความหมายของ "คอมพิวเตอร์" ตามที่ผู้ส่งต้องการ
จากรูปแบบจำลองของการสื่อสารทั้ง 4 แบบนี้ อาจสรุปได้ว่า ในการสื่อสารนั้น การที่ผู้ส่งและผู้รับจะสามารถเข้าใจกันได้ดีเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทักษะ ทัศนคติ ความรู้ และระบบสังคมและวัฒน-ธรรมของทั้งสองฝ่าย ถ้าหากว่าทั้งผู้ส่งและผู้รับมีสิ่งต่าง ๆเหล่านี้สอดคล้องกัน มีประสบการณ์ร่วมกัน ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นได้ผลดียิ่งขึ้น ต่างฝ่ายก็มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน และสามารถขจัดอุปสรรคในการสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับออกไปได้
........3.4 การสื่อสารกับกระบวนการเรียนการสอน
รูปแบบกระบวนการสื่อสารของเบอร์โล เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง เรียกว่าS.M.C.R.Process Model ได้ถูกนำมาใช้เป็นพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้ และนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักการพื้นฐานของเทคโนโลยี การศึกษาได้เป็นอย่างดี
หน่วยที่ 4 การออกแบบสื่อการเรียนการสอน
........4.1 ความหมายของการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย
สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา
หลักในการใช้สื่อ
ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่
6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่
ประโยชน์ของสื่อ
1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง
2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น
3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน
4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง
5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้
แม้ว่าสื่อการสอนจะมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอน แต่ถ้าครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนำสื่อไปใช้ไม่ตรงตามจุดประสงค์และเนื้อหา ก็อาจทำให้สื่อนั้นไม่มีประสิทธิภาพและยังทำให้การสอนนั้นไม่ได้ผลเต็มที่ ดังนั้นครูควรมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อด้วย เพื่อให้สื่อนั้นมีประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน
การออกแบบสื่อการสอน เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญต่อสัมฤทธิผลของแผนการสอนที่วางไว้ ความน่าสนใจและความเข้าใจในบทเรียนเป็นผลมาจากประเภท ลักษณะ และความเหมาะสมของสื่อที่ใช้
........4.2 วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
4.2 การออกแบบสื่อการสอน
คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน
ลักษณะการออกแบบที่ดี (Characteristics of Good Design)
1.ควรเป็นการออกแบบที่เหมาะสมกับความมุ่งหมายของการนำไปใช้
2. ควรเป็นการออกแบบที่มีลักษณะง่ายต่อการทำความเข้าใจ การนำไปใช้งานและกระบวนการผลิต
3. ควรมีสัดส่วนที่ดีและเหมาะสมตามสภาพการใช้งานของสื่อ
4. ควรมีความกลมกลืนของส่วนประกอบ ตลอดจนสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการใช้และการผลิตสื่อชนิดนั้น
ปัจจัยพื้นฐานของการออกแบบสื่อการสอน
1.เป้าหมายของการเรียนการสอน เป็นสิ่งที่กำหรดพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนว่าจะมีลักษณะเช่นไร โดยทั่วไปนิยมกำหนดพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายของการเรียนการสอนไว้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1.1 พฤติกรรมด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)เป็นพฤติกรรมที่แสดงว่าได้เกิดปัญญาความรู้ในเนื้อหาวิชานั้น ๆ แล้ว สามารถที่จะบอก อธิบาย วิเคราะห์ สังเคราะห์ หรือแก้ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาความรู้นั้นได้
1.2 พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย (Pyschomotor Domain) เป็นพฤติกรรมด้านทักษะของร่างกายในการเคลื่อนไหว ลงมือทำงาน หรือความว่องไวในการแก้ปัญหา
1.3 พฤติกรรมด้านเจตตพิสัย (Affective Domain) เป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงความรู้สึกด้านอารมณ์ที่มีต่อสิ่งที่เรียนรู้และสภาพแวดล้อม
ในการเรียนการสอนครั้งหนึ่ง ๆ ย่อมประกอบด้วยพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายหลายประการด้วยกัน สื่อการสอนที่จะนำมาใช้ หากจะต้องสนองต่อทุกพฤติกรรมแล้ว ย่อมมีลักษณะสับสนหรือซับซ้อน ในการออกแบบสื่อการสอน จึงต้องพิจารณาเลือกเฉพาะพฤติกรรมที่เป็นจุดเด่นของการเรียนการสอนนั้นมาเป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อ
2. ลักษณะของผู้เรียน เนื้อหาและรายละเอรียนของื่อชนิดหนึ่ง ๆ ย่อมแปรตามอายุ และความรู้พื้นฐานของผู้เรียน แต่โดยสภาพความเป็นจริงแล้ว ผู้เรียนแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน หากจะนำมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาสื่อย่อมทำไม่ได้ ในทางปฎิบัติจึงใช้ลักษณะของผู้เรียนในกลุ่มหลัก เป็นพื้นฐานของการพิจารณาสื่อก่อน หากจำเป็นจึงค่อยพิจารณาสื่อเฉพาะสำหรับผู้เรียนในกลุ่มพิเศษต่อไป
3. ลักษณะแวดล้อมของการผลิตสื่อ ได้แก่
ก. ลักษณะกิจกรรมการเรียน ซึ่งครูอาจจัดได้หลายรูปแบบ เช่น
-การสอนกลุ่มใหญ่ ในลักษณะของการบรรยาย การสาธิต
-การสอนกลุ่มเล็ก
-การสอนเป็นรายบุคคล
กิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละลักษณะย่อมต้องการสื่อต่างประเภท ต่างขนาด เช่น สื่อประเภทสไลด์ ภาพยนต์มีความเหมาะสมกับการเรียนในลักษณะกลุ่มใหญ่ วีดีโอ ภาพขนาดกลาง เหมาะกับการสอนกลุ่มเล็ก ส่วนสื่อสำหรับรายบุคคลจะต้องในลักษณะเฉพาะตัวที่จะเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ และวัดผลด้วยตนเอง
ข. สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้สื่อ ได้แก่ไฟฟ้าเป็นองค์ประกอบสำคัญการออกแบบสื่อสำหรับโรงเรียน หรือท้องถิ่นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ ย่อมต้องหลีกเลี่ยงสื่อวัสดุฉาย
ค. วัสดุพื้นบ้าน หรือวัสดุท้องถิ่น นากจากจะหาใช้ได้ง่ายแล้วยังจะช่วยให้ผู้เรียนได้มองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งที่เรียนรู้
กับสภาพจริงในชีวิตประจำวันได้ดีกว่าอีกด้วย ดังรั้นสื่อเพื่อการสอนบรรลุเป้าหมายเดียวกัน อาจจะมีลักษณะแตกต่างกันตามสภาพของวัสดุพื้นบ้าน
4. ลักษณะของสื่อ ในการออกแบบและผลิตสื่อ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ผลิตต้องมีความรู้เกี่ยวกับสื่อในเรื่องต่อไปนี้
ก. ลักษณะเฉพาะตัวของสื่อ สื่อบางชนิดมีความเหมาะสมกับผู้เรียนบางระดับ หรือเหมาะกับจำนวนผู้เรียนที่แตกต่างกัน เช่น แผนภาพจะใช้กับผู้เรียนที่มีพื้นฐานหรือประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน ภาพการ์ตูนเหมาะสมกับเด็กประถมศึกษา ภาพยนต์เหมาะกับผู้เรียนที่เป็นกลุ่มใหญ่ วิทยุเหมาะกับการสอนมวลชน ฯลฯ
ข. ขนาดมาตรฐานของสื่อ แม้ว่ายังไม่มีการกำหนดเป็นตัวเลขที่แน่นอน แต่ก็ถือเอาขนาดขั้นต่ำที่สามารถจะมองเห็นได้ชัดเจน และทั่วถึงเป็นเกณฑ์ในการผลิตสื่อ
ส่วนสื่อวัสดุฉายจะต้องได้รับการเตรียมต้นฉบับให้พอดีที่จะไม่เกิดปัญหาในขณะถ่ายทำหรือมองเห็นรายละเอียดภายในชัดเจน เมื่อถ่ายทำขึ้นเป็นสื่อแล้ว การกำหนดขนาดของต้นฉบับให้ถูกหลัก 3 ประการ ต่อไปนี้ คือ
-การวาดภาพและการเขียนตัวหนังสือได้สะดวก
-การเก็บรักษาต้นฉบับทำได้สะดวก
-สัดส่วนของความกว้างยาวเป็นไปตามชนิดของวัสดุฉาย
องค์ประกอบของการออกแบบ
1. จุด ( Dots )
2. เส้น ( Line )
3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form )
4. ปริมาตร ( Volume )
5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture )
6.บริเวณว่าง ( Space )
7. สี ( Color )
8. น้ำหนักสื่อ ( Value )
การเลือกสื่อ การดัดแปลง และการออกแบบสื่อ (Select , Modify , or Design Materials )
การเลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก 3 ประการ คือ
1. การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำก็คือ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้าง โดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์
2. การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย
3. การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการ สอน เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลยแต่ถ้ามีอยู่โดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายเราก็ใช้วิธีดัดแปลงได้ แต่ถ้าไม่มีสื่อตามที่ต้องการก็ต้องผลิตสื่อใหม่
การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ควรคำนึงถึง
1. จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร
2. ผู้เรียน ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน
3. ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่
4. ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด
5. เครื่องมืออุปกรณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่
6. สิ่งอำนวยความสะดวก มีอยู่แล้วหรือสามารถจะจัดหาอย่างไร
7. เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่
การวัดผลของสื่อและวิธีการ
หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคตเราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้
........4.3 การสร้างแบบจำลองการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
4.3 วิธีระบบกับการออกแบบสื่อการเรียนการสอน
เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกกันว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผล มาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข่ ระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การพิจารณาแก้ไขนั้นอาจจะแก้ไขสิ่งที่ป้อนเข้าไปหรือที่ขบวนการก็แล้วแต่เหตุผลที่คิดว่าถูกต้อง แต่ถ้าปรับปรุงแล้วอาจจะได้ผลออกมาไม่เป็นที่พอใจอีกก็ต้องนำผลนั้นมาปรับปรุงแก้ไขใหม่ ต่อเนื่องกันไป จนเป็นที่พอใจ ฉะนั้นจะเห็นว่าวิธีระบบเป็นขยายการต่อเนื่องและมีลักษณะเช่นเดียวกันวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งของการวิเคราะห์ระบบ ก็คือ บุคคลที่จะทำการวิเคราะห์ระบบนั้น ควรจะเป็นบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบมาพิจารณาร่วมกัน
ระบบการการเรียนการสอน
ระบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญๆ คือ
1. เนื้อหาหรือวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกัน
2. พิจารณาพฤติกรรมพฤติกรรมเบื้องต้นของผู้เรียน คือ ต้องทราบพื้นฐาน ความรู้เดิมของผู้เรียน ก่อนที่จะสอนเนื้อหาต่อไป เพื่อจะได้จัดเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3. ขั้นตอนการสอน วิธีการสอน และปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ได้ดี
4. การประเมินผล เพื่อตรวจสอบการดำเนินการเรียนการสอน
5. วิเคราะห์ผลและปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบการเรียนการสอน
หน่วยที่ 5 การผลิตสื่อกราฟิก
........5.1 ความหมาย และคุณค่าของสื่อกราฟิก
ประวัติความเป็นมา
งานกราฟิก มีประวัติความเป็นมาตามหลักฐานในอดีต เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักการขีดเขียน ขูด จารึกเป็นร่องรอย ให้ปรากฏเป็นหลักฐานในปัจจุบัน การออกแบบกราฟิกสมัยก่อนประวัติศาสตร์ จึงเป็นการเริ่มต้นการสื่อความหมายด้วยการวาดเขียน ให้ผู้อ่านตีความหมายได้ เรียกว่า Pictogram เช่นภาพคน ภาพสัตว์ ต้นไม้ ไว้บนผนังหรือบนเพดานถ้ำ และมีการแกะสลักลงบนเขาสัตว์ กระดูกสัตว์ ซึ่งใช้วิธีการวาดอย่างง่ายๆไม่มีรายละเอียดมาก
ต่อมาประมาณ 9000 ปี ก่อนคริสต์กาล ชาว Sumerien ในแคว้นเมโสโปเตเมีย ได้เริ่มเขียนตัวอักษรรูปลิ่ม (Cuneiform) และตัวอักษร Hieroglyphic ของชาวอียิปต์ งานกราฟิกเริ่มได้รับการยอมรับมากขึ้น เมื่อได้คิดค้นกระดาษและวิธีการพิมพ์ ปี ค.ศ.1440 Johann Gutenberg ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์แบบตัวเรียง ที่สามารถพิมพ์ได้หลายครั้ง ครั้งละจำนวนมากๆ
ในปี ค.ศ.1950 การออกแบบได้ชื่อว่าเป็น Typographical Style เป็นการพัฒนาโดยนักออกแบบชาวสวิส ได้นำวิธีการจัดวางตัวอักษรข้อความและภาพเป็นคอลัมภ์ มีการใช้ตารางช่วยให้อ่านง่ายมีความเป็นระเบียบ สวยงาม มีการจัดแถวของข้อความแบบชิดขอบด้านหน้าและด้านหลังตรงเสมอกัน
ตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา การออกแบบกราฟิก ได้พัฒนาและขยายขอบเขตงานออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่จำกัดอยู่แต่ในสิ่งพิมพ์เท่านั้น โดยได้เข้าไปอยู่ในกระบวนการสื่อสารอื่นๆเช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ การถ่ายภาพ โปสเตอร์ การโฆษณา ฯลฯ
การออกแบบกราฟิกปัจจุบัน เป็นยุคของอิเล็กทรอนิกส์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ได้นำเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุอุปกรณ์ วัสดุสำเร็จรูป มาช่วยในการออกแบบกราฟิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ ( Computer Graphics ) มีโปรแกรมด้านการจัดพิมพ์ตัวอักษรที่นิยมกันมากคือ Microsoft Word สามารถจัดเรียง วางรูปแบบ สร้างภาพ กราฟ แผนภูมิ จัดการและสร้างสรรค์ตัวอักษร โปรแกรมอื่นๆที่สนับสนุนงานกราฟิกอีกมากมาย เช่น Adobe Photoshop / Illustrator / PageMaker / CorelDraw / 3D Studio / LightWave 3D / AutoCad ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมที่ช่วยให้สามารถสร้างสรรค์งานกราฟิกบนเว็บ อีกมากเช่น Ulead Cool / Animagic GIF / Banner Maker เป็นต้น
ปัจจุบันงานคอมพิวเตอร์กราฟิก จึงเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนรูปแบบ การออกแบบและสร้างสรรค์งานกราฟิกอย่างกว้างขวาง เนื่องจากให้ความสะดวก รวดเร็ว แก้ไขงาน ทำซ้ำงานทำได้ง่าย ตลอดจนการสั่งพิมพ์ หรือบันทึกเพื่อการพกพาในรูปแบบอื่นๆได้หลายวิธี
ความหมาย
" กราฟิก " ( Graphic ) เป็นคำมาจากภาษากรีกว่า Graphikos หมายถึงการเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวดำ และคำว่า " Graphein " มีความหมายทั้งการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น เมื่อรวมทั้งคำ Graphikos และ Graphein เข้าด้วยกันวัสดุกราฟิกจะหมายถึงวัสดุใด ๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด ภาพเขียน และอักษรข้อความรวมกัน ภาพวาดอาจจะเป็น แผนภาพ ( Diagram ) ภาพสเก็ต ( Sketch ) หรือแผนสถิติ ( Graph ) หรืออาจเป็นคำที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ( Title ) คำอธิบายเพิ่มเติมของแผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ และภาพโฆษณา อาจวาดเป็นการ์ตูนในรูปแบบหรือประเภทต่างๆ ภาพสเก็ต สัญลักษณ์ และภาพถ่าย สามารถใช้เป็นวัสดุกราฟิกเพื่อสื่อความหมายในเรื่องราวที่แสดงข้อเท็จจริงต่าง ๆได้
วัสดุกราฟิกทางการศึกษา เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาดและสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน และแผนสถิติ ฯลฯ
ประโยชน์ของวัสดุกราฟิก
วัสดุกราฟิกต่าง ๆ ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ดังต่อไปนี้
1. ใช้เป็นสื่อประกอบการสอนได้ทุกวิชา โดยเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและระดับของผู้เรียน
2. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสิ่งนั้น ๆ ได้รวดเร็วกว่าใช้คำพูด ทำให้ประหยัดเวลาในการสอน 3. ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีส่วนร่วมและอยากเรียน
4. ใช้ในการโน้มน้าวจิตใจในเรื่องต่าง ๆ เช่น ภาพโฆษณา การโฆษณาสินค้า
5. ใช้ในการจัดแสดงผลงาน หรือจัดนิทรรศการ
6. ใช้ในด้านเผยแพร่กิจกรรม การประชาสัมพันธ์ของทุกหน่วยงาน
7. ใช้ในการสร้างสรรค์ เปลี่ยนแปลงเจตคติ และสร้างความเข้าใจอันดีภายในและภายนอกองค์กร
การจำแนกประเภทของสื่อวัสดุกราฟิก
ในปัจจุบัน หนังสือพิมพ์ วารสาร เอกสาร ตำรา ในการเรียนการสอน ตลอดจนสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ นิยมใช้สัญลักษณ์ทางกราฟิก( Graphic Symbols ) มาประกอบ เพราะสัญลักษณ์เหล่านี้สามารถทำให้ผู้อ่านหรือผู้เรียนเกิดการเรียนรู้โดยเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ชัดเจน รวดเร็ว และยังมีความสวยงามน่าสนใจ เช่นเครื่องหมายธนาคาร จะติดไว้สูงๆบนหลังคามองเห็นได้ในระยะไกล
........5.2 การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน
การใช้สีกับสื่อการเรียนการสอน
จุดประสงค์ของการเรียนรู้
1.เพื่อให้รู้ถึงความหมายของสีและการใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
2.เพื่อให้รู้ถึงคุณค่าและความสำคัญของการใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
3.เพื่ีอให้รู้ถึงแนวทางในการเลือกใช้ในการสร้างสรรค์งานสื่อสิ่งพิมพ์
4.เพื่อให้รู้ถึงหลักการพิจารณาในการเลือกใช้สีในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
สีและการใช้สี
ความเข้าใจในเรื่องของสีเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้งานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์มีความสดใสสวยงาม น่าสนใจ
และมีบทบาทในการสื่อความหมายได้อย่างถูกต้อง เหมาะและมีคูณภาพอีกด้วย ดั้งนั้น การเลือกใช้สีควรจะได้ศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อที่จะได้นำสีไปใช้ประกอบในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อให้งานนั้นสามารรถตอบสนองได้ตรงตามจุดประสงค์มากที่สุดซึ่งแต่ละสีให้ความสรู้สึกลารมณ์แก
่ผู้ดูต่างๆ กันออก ไป เช่น
สี ขาว ทำให้เกิดความรู้สึกบริสุทธิ์ สะอาด ใหม่ สดใส
สี แดง ทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น เร้าใจ
สี ม่วง ทำให้เกิดความรู้สึกเศร้า ลึกลับ
สี น้ำเงิน ทำให้เกิดความรู้สึกสงบ เงียบขรึม
สี เหลือง ทำให้เกิดความรู้สึกสดชื่นรื่นเริง
สี ชมพู ทำให้เกิดความรู้สึกนุ่มนวล อ่อนโยน
สี ส้มแดง (แสด) ทำให้เกิดความรู้ร้อนแรง
สี ดำ หรือ ดำกับขาว ทำให้เกิดความรู้สึกหดหู่ใจ
สี เทาปนเขียว ทำให้เกิดความรู้สึกแก่ชรา
สี เขียวปนเหลือง ทำให้เกิดความรู้สึกหนุ่มหรือสาวขึ้น
นอกจากอารมณ์และความรู้สึกจะเป็นตัวกำหนดความชอบและไม่ชอบเกี่ยวกับสีของ
คนแต่ต่างกันไปตามสภาพสังคม วัฒนธรรมของแต่ละสังคมอีกด้วยดังนั้นสีจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้อง
กับชีวิตประวันของคนอย่างมากมายโดยที่เราไม่ได้นึกถึง การได้ทำความเข้าใจว่าสีคืออะไร
ทฤษฎีของสี
อารมณ์และความรู้สึกจะเป็นตัวกำหนดความรับผิดชอบและไม่ชอบเกี่ยวกับสังคมแต่ละคน
แต่ละคนแต่ละกลุ่มเป้าหมายมีส่วนที่ชักจูงให้เกิดความรู้สึกสนใจ และเข้าใจถึงคุณค่าของภาพ
เหล่านั้นสามารถตอบสนองแรงกระตุ่นได้ตามวัตถุประสงค์ซึ่งเป็น
เป้าหมายที่สำคัญของงานออกแบบมีทฤษฎีหลายทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องของสีที่จะเกิดให้ความกระจ่าง
ในเรื่องของความหมาย ได้เป็นอย่างดี และเป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายมีอยู่ 4 ทฤษฎีด้วยกัน คือ
1. ทฤษฎสีตามหลักการทางฟิสิก์ ในหลักการของทฤษฎี นี้จะอธิบายความหมายของสีที่ได้จากการมอง
เห็นโดยจะมีเรื่องของแสงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย สีในทฤษฎีตามหลักการทางฟิสิกส์ หมายถึง ส่วนประกอบ
ของเปกตรัม ซึ่งแม่สีจะประกอบด้วยสี 2 สี ได้แก่ สีเขียว และสีนำ้เงินถ้าเอาแม่สีแสงทั้ง 3 มาผสมกันจะ
ทำให้ได้สีใหม่เกิดขึ้นอีก 3 สี
สีที่ได้
สีแดง + สีน้ำเงิน สีชมพู
สีเขียว + สีแดง สีฟ้า
สีแดง + สีเขียว +สีน้ำเงิน สีเหลือง
2. ทฤษฎีของสีตามหลักการทางเคมี ในหลักการของทฤษฎีนี้ จะอธิบ่ายความหมายของสีตามคุณสมบัติ
ทางเคมีสีที่ปรากฏ คือ คือเป็นส่วนผสมที่ย้อมขึ้นหรือเป็นเนื้อแท้ของสีซึ่ง กำหนดแม่สีไว้เป็น 3 สี คือ สีแดง
สีเหลือง และสีน้ำเงิน ถ้าเอาเนื้อสีทั้งสามารถผสมกันก็จะได้สีใหม่ขึ้นมาอีก 3 สีดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2
สีที่ผสม สีที่ได้
สีแดง + สีเหลือง สีส้ม
สีเหลือง + สีน้ำเงิน สีเขียว
สีน้ำเงิน + สีแดง สีม่วง
3.ทฤษฎีของสีตามหลักการของมันเซลล์ มันเซลล์เป็นศิลปินชาวอเมริกากัน ได้กำหนดแม่สีที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ไว้เป็น 5 สีด้วย คือ สีแดง สีเหลือง สีเขียว สีน้ำเงิน และสีม่วง ซึ่งเมื่อนำแม่สีทั้งหมด 5 สี มาทำการผสมกันระหว่างสีต่างๆ เข้าด้วยกันจะได้สีใหม่อีก 5 สี ดังตาราง ที่ 3
ตารางที่ 3
สีที่ผสม สีที่ได้
สีแดง + สีเหลือง สีเหลืองแก่
สีเขียว + สีน้ำเงิน สีเหลืองเขียว
สีเขียว + สีน้ำเงิน สีเขียวน้ำเงิน
สีน้ำเงิน + สีม่วง สีม่วงน้ำเงิน
สีม่วง + สีแดง สีม่วงแสด
4. ทฤษฎีของสีตามหลักจิตวิทยา ทฤษฎีนี้จะเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นแรงกระตุ้นหรือสิ่งเร้า และตามาหลักและตามหลักการของทฤษฎีนี้ จะอธิบายถึงคุณสมบัติของสีตามสิ่งเร้าประเภทต่างๆ ที่มองเห็น แม่สีจะถูก
แบ่งออกเป็น 4 สีด้วยกัน ได้แก่ สีเหลือง สีเขี้ยว สีน้ำเงิน และสีแดง ซึ่งถ้านำแม่สีทั้ง 4 มาผสมกันก็จะได้สีใหม่ 4 สีดังตารางที่4
ตารางที่ 4
สีที่ผสม สีที่ได้
สีเหลือง + สีเขียว สีเขียวเหลือง
สีเขียว + สีน้ำเงิน สีเขียวน้ำเงิน
สีน้ำเงิน + สีแดง สีม่วง
สีแดง + สีเหลือง สีส้ม
จากทฤษฎีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ จะบอกถึงความเป็นมาเป็นไปของแต่ละสี แต่สำหรับในงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์แล้ว สีที่ใช้จะเกี่ยวข้องกับสีในทฤษฎีของสีตามหลักการทางเคมีเพื่อนำมาใช้สร้างสรรค์งานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ให้
มีคุณค่าและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยมรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องของสีเพิ่มเติมและแยกเป็นขั้นๆดังนี้
ขั้นที่ 1 (แม่สี)
เป็นสีที่มีความเข็มมากที่สุด สามารถนำไปผสมเพื่อให้เกิดสีต่าง ๆ ได้อีกมากมายหลายสี แม่สีมี 3 สี สี
แดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน
ขั้นที่ 2
เป็นสีที่เกิดจากการนำเอาแม่สีมาผสมกันที่ละคู่โดยใช้อัตราส่วนของแต่ละสีเทา ๆ กัน ซึ่งนำจะทำให้เกิดขึ้นมา
อีก 3 สี คือ สีส้ม สีเขียว และสีม่วงดังแสดงในตารางที่ 5
ตารางที่5
สีที่ผสม สีทีได้
สีแดง + สีเหลือง สีส้ม
สีเหลือ + สีน้ำเงิน สีเขียว
สีน้ำเงิน + สีแดง สีส้ม สีม่วง
สีขั้นที่ 3
เป็นสีทีได้จากการนำสีทีเกิดขึ้นใหม่ในขั้นที่ 2 มาทำการผสมกับแม่สีทั้งสามที่ละคู่โดยมีอัตราส่วนเท่าๆ กัน จะทำให้ได้สีใหม่อีก 6 สีด้วยกัน คือ สีม่วงแดง สีส้มแดง สีเหลืองส้ม สีเขียวเหลือง สีน้ำเงินเขียว และ
สีน้ำเนม่วง
ตารางที่ 6
สีที่ผสม สีที่ได้
สีแดง + สีม่วง สีม่วงแดง
สีแดง + ส้ม สีส้มแดง
สีเหลือง + สีเขียว สีเหลืองส้ม
สีเหลือง + สีเขียว สีเขียวเหลือง
น้ำเงิน + เขียว สีน้ำเงินเขียว
สีน้ำเน + ม่วง สีม่วงแดง สีน้ำเงินม่วง
จากการนำสีมาสมกันในชั้นที 1 ขั้นที่2และขั้นที่ซึ่งในแต่ละขั้นจะเกหดสีใหม่ขึ้นมาบางทีเราก็เรียกว่า วงล้อสีธรรมชาติ
โทนของสี
โทนสีหรือวรรณะของสี หมายถึง กลุ่มสีที่ปรากฏให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน สังเกตได้จากวงล้อสีธรรมชาติจะมีอู่ 2 โทน หรือ 2 วรรณะ คือ
1. โทนสีร้อน ลักษณะของสีจะให้ความสดใส ร้อนแรง ฉูดฉาดหรือรื่นเริง สีในกลุ่มนี้ ได้แก่ สีเหลือง สีแกง สีส้ม และสีไกล้เคลีย
2. โทนสีเย็นความรู้สกที่ปรากฏในภาพจะแสดงความสงเยือกเย็นจนถึงซึมเศร้า ได้แก่ สีน้ำเงิน สีม่วง สีเขียวและสีทีใกล้เคียง
จิตวิทยาในการเลือกใช้สี
สีถึงแม้จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของการนำไปใช้งาน แต่ลักษณะเฉพาะหรือคุณค่าเฉพาะของสีแต่ละสีย่อมจะเป็นตัวแทนของอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ ในวัตถุที่มีสีปรากฏขึ้นในตัว เมื่อสายตาได้พบเห็นวัตถุที่แตกต่าง หลากหลายสีในวัตถุ ย่อมเกิดความรู้สึกต่าง ๆ ได้แก่ อ่อนหวาน อบอุ่นหรือหนาวเย็น นุ่มนวลหรือแข็งกระด้าง และตื่นเต้น เป็นต้น
สีแดง เป็นสีของไฟ ความปรารถนา ความรู้สึกทางอารมณ์ การปฏิบัติ ความอ่อนเยาว์ ดังนั้น จึงเป็นที่ชอบมากสำหรับเด็กเล็กๆ สีแดงจึงเป็นสีที่มีพลังอย่างมากมายสามารถบังสีอื่น ๆ ได้ จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นสีของฉาดหลังหรือแบล็กกราวด์หรือสีพื้น เป็นต้น
สีเหลืองสีเขียว และสีม่วง ทุกระดับหรือเชดสีมีค่าที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสีที่มาผสม สีดังกล่าวอาจจะทำให้เกิดความรู้สึกในทางบวกการแสดงออกเต็มไปด้วยความรู้สึก ฉลาดและมั่นใจ หรือให้ความรู้ในทางลบและเก็บกดก็เป็นได้
ดังนั้นเมื่อนำสีแดงมาผสมกับสีขาวจะได้สีชมพูซึงเป็นการลดพลังของสีเหลือง ผลลัพธ์ คือสีน้ำตาล ซึ่งมีความเข็มที่แตกต่างกันออกกไป แต่ไม่ว่าสีน้ำตาลที่ได้ จะมีความเข็มมากน้อยเพียงใด สีประเภทนี้ก็จะให้ความรู้สึกเกี่ยวกับพื้นดิน ความแข็งแรง ความเป็นจริง ความอบอุ่น และความมั่นคง
ส่วนสีเหลือง เป็นสีที่มีพลัง ในด้านความสว่างเป็นอย่างมาก ให้ความรู้สึกเย็นมากกว่า สีเหลืองอมส้ม แต่ให้ความอบอุ่นกว่าสีเหลืองอมเขียว นอกจากนี้สีเหลืองยังเป็นสีที่สะท้อนถึงสติปัญญามากกว่าจิตใจ
สีน้ำเงิน เป็นสีที่ให้อารมณ์ความรู้สึกในลักษณะเก็บกด เปล่าเปลี่ยว โดดเดี่ยวและช่างฝันถึงแม้ว่าจะสามารถทำให้ความจืดจ่างลงได้โดยการผสมสีขาวเข้าไปก็ตาม แต่สีน้ำเงินก็ยังคงให้ความประทับใจเกี่ยวกับความสะอาด บริสุทธิ์จึงมักใช้เป็นสีแทนสัญลักษณ์ทาบงด้านสุขอนามัย
สีม่วง เป็นสีที่ใช้อารมณ์ความรู้สึกลึกลับ ความเก่าแก่โบราณการทำสมาธิ เวทย์คาถาและความรู้สึกใคร่ครวญ
สีทอง มีโทนสีคล้าย หรือใกล้สีส้มและนับว่าเป็นสีที่อุ่นอีกสีหนึ่ง ในขณะสีน้ำ้เงินถูกจัดให้เป็นสีเย็น สีทองเป็นสี
ที่ให้อารมณ์ความรู้สึกไปในทางบวก และสร้างสรรค์
สีเทา เป็นสีที่มีความเข็มจางแตกต่างกันหลายระดับ อาจจะคุ้นเคยกันดีจากการดูภาพขาวดำ การอ่านหนังสือทั่วไป
และการอ่านหนังสื่อพิมพ์
สีดำ เป็นสีที่ใช้แทนสัญลักษณ์ของความมืน ความสว่าง โดยเฉพาะในการทำสื่อสิ่งพิมพ์สีดำจะมีค่าในทางบวก เนื่องจากเมื่อเราใช้สีอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพหรือตัวอักษรวางลงไป ก็จะทำให้สีเหล่านั้นเด่นเจิดจ้าสะดุตาขึ้น
สีขาว เป็นสีที่ไม่อยู่ในโทนสีอุ่นและสีเย็น ยกเว้น เมื่ออยู่กับสีเหลืองซึ่งสีขาวจะช่วยขับให้สีเหลืองเด่นสะดุดตา
ขึ้นทำให้สามารถวางภาพหรืออักษรสีใด ๆ ลงบนพื้นที่สีขาวได้ผลดีเช่นเดียวกับสีดำ
........5.3 การเขียนภาพการ์ตูน
การเขียนภาพการ์ตูน
สำหรับเด็กนั้นโดยมากมักนิยมเขียนภาพสัตว์ด้วยฝีมือมายา คือจงใจให้ผิดเพี้ยนไปจากของจริงมากมายเกินกว่าปกติ ดูเสมือนว่าเขียนออกมาอย่างหยาบๆ ง่ายๆ แต่ช่างเขียนนั้นเขียนขึ้นโดยความยากลำบากทั้งนั้นทุกรูป แต่เขาจงใจให้มองดูเขียนขึ้นอย่างลวกๆ การให้สีหนังสือเดกมักใช้สีฉูดฉาดบาดตา ภาพการ์ตูนสำหรับเด็กอีกระดับหนึ่ง หมายถึงระดับเด็กอายุ ๑๑ - ๑๖ ปี ระยะนี้การ์ตูนประกอบเรื่องจะต้องมีความปราณีต ขบขัน สวยงาม ตลอดจนกระทั่งฝีมือในการเขียนภาพประกอบจะต้องดีพอ จึงจะสามารถดึงดูดเด็กในวัยนี้ให้สนใจได้ สีสันของภาพประกอบต้องนุ่มนวลมากขึ้น เพราะเด็กนักเรียนวัยนี้เป็นวัยที่รู้ความใสวยงามของธรรมชาติและสัตว์ได้เป็นส่วนใหญ่ ฉะนั้นภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็ก ๑๑ - ๑๖ ขวบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างจะต้องระดมความเพียรในการเขียนภาพประกอบหนังสือให้เขาด้วยความรู้สึกนึกคิดที่สุขุมรอบคอบอย่างยิ่งเป็นพิเศษ เด็กระยะนี้กำลังจะถึงระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตความเป็นเด็กกับความเป็นผู้ใหญ่ ฉะนั้นการเขียนภาพการ์ตูนประกอบเรื่องใหก้คนรุ่นนี้ดูตามความรู้สึกของผมแล้ว มีความรู้สึกว่ายากลำบากยิ่งกว่าการเขียนภาพการ์ตูนให้ผู้ใหญ่อ่านเสียอีก เด็กระยะนี้เป็นผู้ช่างคิดช่างค้น มีสมองที่กำลังเจริญอย่างรุนแรง ฉะนั้นการที่จะเขียนภาพให้เขาดูจึงต้องการความสุขุม รอบคอบและมากด้วยความเพียรอย่างยิ่ง ฉะนั้น การที่จะเขียนภาพให้เขาดูจึงต้องการความสุขุมรอบคอบ และมากด้วยความเพียรอย่างยิ่ง ผู้เขียนเอาตัวของตัวเองเป็นที่สังเกตว่า ระยะที่อายุอยู่ในวัยนี้เป็นวัยที่กำลังดูดซึมสิ่งแวดล้อมอย่างกระหาย ฉะนั้นหากได้พบภาพเขียนหรือบทประพันธ์ บทกลอนใดๆ ในระยะนั้นที่ประทับใจ แล้ว ความฝังใจจะเกิดขึ้นทันที และจะประทับใจอยู่กับตัวชั่วชีวิต ทั้งในประสบการณ์ด้านดีและด้านร้าย ฉะนั้นการ์ตูนให้เด็กวัย ๑๑ - ๑๖ ขวบ อ่านนี้ จากประสบการณ์ด้วยตนเอง จึงเตือนตนอยู่เสมอมิได้ลืมว่าทั้งก่อประโยชน์มหาศาลให้แก่เด็กและอาจในทางตรงกันข้ามก็ได้"
........5.4 การออกแบบตัวอักษรหัวเรื่อง
ประวัติความเป็นมาของตัวอักษร
ตัวอักษรมนุษย์ได้ประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น ตัวอักษรสร้างขึ้นเพื่อเป็นสื่อทางการติดต่อ ตัวอักษรสมัยโบราณส่วนมากจะวิวัฒนาการมาจากภาพ เช่น อักษรของอียิปต์ ชื่อว่าอักษรไฮเออโรกลิฟิค (Hieroglyphic) ประมาณ 6,000 ปีล่วงมาแล้ว ยังมีอักษรที่เรียกว่า “อักษรลิ่ม” (Cuneiform) ของชาวซูเมอร์เรียน ซึ่งมีความเก่าแก่เท่า ๆ กันกับอักษรของอียิปต์โบราณ ระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันนั้นเอง ในทวีปเอเซีย ประเทศจีน และอินเดีย ก็ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้
ตัวอักษรที่เป็นสากลส่วนมากใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ต้นตระกูลของอักษรภาษาอังกฤษ คือ อักษรโฟนิเซีย ซึ่งแพร่หลายอย่างกว้างขวางในยุโรป ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์กาล ชาวกรีกได้นำไปใช้เป็นหลักการเขียนตัวอักษร แล้วนำไปสู่พวกโรมันแก้ไขปรับปรุงจนกลายเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
การประดิษฐ์ตัวอักษรของไทย เริ่มในสมัยสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1826 โดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ทรงดัดแปลงมาจากอักษรของขอมและอักษรมอญโบราณ นำมาประดิษฐ์ใหม่เป็นตัวอักษรของชาติไทย ระยะแรกพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ เรียงแถวกันในบรรทัดเดียวกัน ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม ซึ่งบางตัวอยู่ข้างล่าง ข้างบน ข้างหน้า และข้างหลัง ดังปรากฏที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
ลักษณะของตัวอักษรไทย นักเรียนควรจะศึกษารูปแบบลักษณะของตัวอักษรภาษาไทย ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบทางราชการ ได้แก่ ตัวอักษรที่มีลักษณะแบบเรียบ ๆ อ่านง่าย นิยมใช้กันมากโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับทางราชการ องค์การต่าง ๆ ใช้ในการพิมพ์หนังสือเรียน เป็นแบบที่เรียบร้อยแสดงถึงความเป็นระเบียบแบบแผนของความเป็นไทย ลักษณะของตัวอักษรจะเป็นหัวกลม เช่น
โรงเรียนแม่ใจวิทยาคม
2. รูปแบบอาลักษณ์ หมายถึง แบบตัวอักษรที่ใช้ในราชสำนักมาแต่โบราณ นับแต่พระบรมราชโองการ เอกสารทางราชการ หรือการจารึกเอกสารสำคัญ เช่นรัฐธรรมนูญ งานเกียรติยศต่าง ๆ
3. รูปแบบสมเด็จกรมพระนริศฯ หมายถึง ลักษณะตัวอักษรที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้คิดรูปแบบขึ้น ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมาก เพราะเป็นแบบที่ใช้เขียนได้อย่างรวดเร็ว สะดวก และเหมาะสมกับการเขียนด้วยปากกา สปีดบอลล์ พู่กันแบน และสีเมจิกชนิดปลายตัด หรือที่เรียกว่า อักษรหัวตัด
4. รูปแบบประดิษฐ์ หมายถึง รูปแบบตัวอักษรที่เกิดจากการออกแบบสร้างสรรค์เพื่อนำไปใช้ให้เหมาะสมกับงานประเภทต่าง ๆ เช่น งานออกแบบโฆษณา หัวเรื่องหนังสือ ฯลฯ ซึ่งออกแบบให้เป็นแบบเหลี่ยม แบบวงกลม แบบโค้ง และแบบอื่น ๆ ตามความเหมาะสม
ขนาดและสัดส่วนของตัวอักษร
ตัวอักษรไทยมีขนาดไม่เท่ากัน พอจะแบ่งได้ดังนี้
1. แบบอักษรตัวเต็ม ได้แก่ พยัญชนะที่มีขนาดสัดส่วนที่มีความกว้างเท่า ๆ กัน โดยมากพยัญชนะไทยจะมีขนาดตัวเต็ม เช่น ก ข ค ง จ ฯลฯ
2. แบบตัวอักษรตัวครึ่ง ได้แก่ พยัญชนะที่มีขนาดสัดส่วนที่มีความกว้างกว่าตัวเต็ม ในแบบที่ 1 อีกประมาณครึ่งตัว มีอยู่ด้วยกัน 4 ตัว คือ ณ ญ ฒ ฌ
3. แบบอักษรครึ่งตัว ได้แก่ อักษรที่เป็นสระมีความกว้างประมาณครึ่งตัวอักษรของแบบที่ 1 เช่น ะ า เ โ ไ ใ
แบบตัวอักษรทั้ง 3 แบบ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงหลักเกณฑ์เบื้องต้นเท่านั้น เมื่อนักเรียนเกิดความเข้าใจดีแล้ว ก็จะเกิดความชำนาญต่อไปสามารถดัดแปลงได้อีกมากมายหลายแบบไม่มีที่สิ้นสุด
ขนาดและสัดส่วนของตัวอักษร สามารถออกแบบให้เกิดความเหมาะสมได้อีก เช่น
1. แบบปกติ คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความหนา ช่องว่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรมีขนาดเท่า ๆ กัน ไม่แคบ หรือห่างกันเกินไป
2. แบบตัวกว้าง คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความกว้างของช่องว่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรขยายกว้างกว่าปกติ เพื่อขยายให้เกิดความพอดีกับบริเวณที่ต้องการออกแบบตัวอักษรลงบนพื้นที่กว้างกว่าปกติ
3. แบบตัวแคบ คือ ตัวอักษรที่มีขนาดความกว้างของช่องว่างในตัวอักษร และช่องว่างระหว่างตัวอักษรแคบกว่าปกติ เพื่อให้เกิดความพอดีกับเนื้อที่ที่จะใช้ออกแบบตัวอักษรลงในงานที่มีพื้นที่แคบได้อย่างเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษร
การออกแบบตัวอักษร นักเรียนจะต้องรู้จักกำหนดความสูง ความกว้าง และความยาวของประโยค ตัวอักษรที่จะออกแบบเพื่อให้ได้ตัวอักษรที่เหมาะสมกับเนื้อที่อย่างเหมาะสม
วิธีการออกแบบตัวอักษรแบ่งออกเป็น 4 ขั้น ดังนี้
1. ตีเส้นกำกับบรรทัด (Guide line) คือ การขีดเส้นตามแนวนอน ห่างกันตามความสูงของตัวอักษร เว้นด้านล่าง และด้านบน เหลือไว้พอสมควร เพื่อเขียนสระและวรรณยุกต์ เส้นกำกับบรรทัดนี้ควรขีดให้เบาพอมองเห็น เพื่อใช้เป็นแนวร่างตัวอักษรให้มีขนาดตามต้องการ
2. ตีเส้นร่างตามขนาดและจำนวนตัวอักษร ในการออกแบบตัวอักษรลงบริเวณใด เพื่อความเหมาะสมและสวยงาม จึงควรนับจำนวนตัวอักษรที่จะเขียนทั้งหมด แล้วจึงคำนวณเนื้อที่ทั้งหมดสำหรับบรรจุตัวอักษรลงไป แล้วตีเส้นร่างเบา ๆ ตามขนาดและจำนวนตัวอักษรทั้งหมด
3. การร่างตัวอักษร การร่างควรเขียนด้วยเส้นเบา เพื่อสะดวกต่อการลบ เมื่อเกิดการผิดพลาดหรือเมื่องานเสร็จแล้ว จะได้ลบเส้นที่ไม่ต้องการออกได้ง่ายไม่สกปรก
4. การลงสี เมื่อได้แบบตัวอักษรที่แน่นอนแล้วจึงลงสี หรือหมึก ให้เกิดความสวยงามตามต้องการ
วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551
มาทำความรู้จักกับไวรัส
ไวรัสคืออะไร
ไวรัส คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน
การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์ เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรม ๆ หนึ่งการที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส แต่ละตัวปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว
จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ แสดงข้อความวิ่งไปมาบน หน้าจอ เป็นต้น
ประเภทของไวรัส
บูตเซกเตอร์ไวรัส
Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่อง จะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบ ปฎิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัส ประเภทนี้ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไป จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น
ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียก ดอสจากดิสก์นี้ ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใน หน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่ จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไป เรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
โปรแกรมไวรัส
Program Viruses หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้า ไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programsได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะ เข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรมผลก็คือหลังจากท ี่ โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิมดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่ จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม
การทำงานของไวรัส โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้ โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลัง จากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
วิธีการแพร่ระบาดของโปรแกรม ไวรัสอีกแบบหนึ่งคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียก นั้นทำงานตามปกติต่อไป
ม้าโทรจัน
ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้ง ชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ
จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำ อันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบ คอมพิวเตอร์
ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ ผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรม ที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้
โพลีมอร์ฟิกไวรัส
Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้หถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
สทีลต์ไวรัส
Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริง ของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัว ไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
อาการของเครื่องที่ติดไวรัส
สามารถสังเกตุการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้อาจเป็นไปได้ว่าได้มีไวรัสเข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้ว อาการที่ว่านั้นได้แก่
ใช้เวลานานผิดปกติในการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงาน
ขนาดของโปรแกรมใหญ่ขึ้น
วันเวลาของโปรแกรมเปลี่ยนไป
ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อย ๆ
เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ
เครื่องส่งเสียงออกทางลำโพงโดยไม่ได้เกิดจากโปรแกรมที่ใช้อยู่
แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย
ขนาดของหน่วยความจำที่เหลือลดน้อยกว่าปกติ โดยหาเหตุผลไม่ได้
ไฟล์แสดงสถานะการทำงานของดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น
ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ ๆ ก็หายไป
เครื่องทำงานช้าลง
เครื่องบูตตัวเองโดยไม่ได้สั่ง
ระบบหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
เซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยมีการรายงานว่าจำนวนเซกเตอร์ที่เสียมีจำนวน เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยที่
ยังไม่ได้ใช้โปรแกรมใดเข้าไปตรวจหาเลย
การสแกน
โปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกน (Scanning) เรียกว่า สแกนเนอร์ (Scanner) โดยจะมีการดึงเอาโปรแกรมบางส่วนของตัวไวรัสมาเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล ส่วนที่ดึงมานั้นเราเรียกว่า ไวรัสซิกเนเจอร์ (VirusSignature)และเมื่อสแกนเนอร์ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าตรวจหาไวรัสในหน่วยความจำ บูตเซกเตอร์และไฟล์โดยใช้ ไวรัสซิกเนเจอร์ที่มีอยู่
ข้อดีของวิธีการนี้ก็คือ เราสามารถตรวจสอบซอฟแวร์ที่มาใหม่ได้ทันทีเลยว่าติดไวรัสหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงานตั้งแต่เริ่มแรก แต่วิธีนี้มีจุดอ่อนอยู่หลายข้อ คือ
ฐานข้อมูลที่เก็บไวรัสซิกเนเจอร์จะต้องทันสมัยอยู่เสมอ แลครอบคลุมไวรัสทุกตัว มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
เพราะสแกนเนอร์จะไม่สามารถตรวจจับไวรัสที่ยังไม่มี ซิกเนเจอร์ของไวรัสนั้นเก็บอยู่ในฐานข้อมูลได้
ยากที่จะตรวจจับไวรัสประเภทโพลีมอร์ฟิก เนื่องจากไวรัสประเภทนี้เปลี่ยนแปลง ตัวเองได้
จึงทำให้ไวรัสซิกเนเจอร์ที่ใช้สามารถนำมาตรวจสอบได้ก่อนที่ไวรัส จะเปลี่ยนตัวเองเท่านั้น
ถ้ามีไวรัสประเภทสทีลต์ไวรัสติดอยู่ในเครื่องตัวสแกนเนอร์อาจจะไม่สามารถ ตรวจหาไวรัสนี้ได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและเทคนิคที่ใช้ของตัวไวรัสและ ของตัวสแกนเนอร์เองว่าใครเก่งกว่า
เนื่องจากไวรัสมีตัวใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ ๆ ผู้ใช้จึงจำเป็นจะต้องหาสแกนเนอร์ ตัวที่ใหม่ที่สุดมาใช้
มีไวรัสบางตัวจะเข้าไปติดในโปรแกรมทันทีที่โปรแกรมนั้นถูกอ่าน และถ้าสมมติ
ว่าสแกนเนอร์ที่ใช้ไม่สามารถตรวจจับได้ และถ้าเครื่องมีไวรัสนี้ติดอยู่ เมื่อมีการ
เรียกสแกนเนอร์ขึ้นมาทำงาน สแกนเนอร์จะเข้าไปอ่านโปรแกรมทีละโปรแกรม เพื่อตรวจสอบ
ผลก็คือจะทำให้ไวรัสตัวนี้เข้าไปติดอยู่ในโปรแกรมทุกตัวที่ถูก สแกนเนอร์นั้นอ่านได้
สแกนเนอร์รายงานผิดพลาดได้ คือ ไวรัสซิกเนเจอร์ที่ใช้บังเอิญไปตรงกับที่มี
อยู่ในโปรแกรมธรรมดาที่ไม่ได้ติดไวรัส ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ไวรัสซิกเนเจอร์ ที่ใช้มีขนาดสั้นไป
ก็จะทำให้โปรแกรมดังกล่าวใช้งานไม่ได้อีกต่อไป
การตรวจการเปลี่ยนแปลง
การตรวจการเปลี่ยนแปลง คือ การหาค่าพิเศษอย่างหนึ่งที่เรียกว่า เช็คซัม (Checksum) ซึ่งเกิดจากการนำเอาชุดคำสั่งและ ข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรมมาคำนวณ หรืออาจใช้ข้อมูลอื่น ๆ ของไฟล์ ได้แก่ แอตริบิวต์ วันและเวลา เข้ามารวมในการคำนวณด้วย เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งหรือข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรม จะถูกแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง เราจึงสามารถนำเอาตัวเลขเหล่านี้มาผ่านขั้นตอนการคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ ซึ่งวิธีการคำนวณเพื่อหาค่าเช็คซัมนี้มีหลายแบบ และมีระดับการตรวจสอบแตกต่างกันออกไป เมื่อตัวโปรแกรม ภายในเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าไวรัสนั้นจะใช้วิธีการแทรกหรือเขียนทับก็ตาม เลขที่ได้จากการคำนวณครั้งใหม่ จะเปลี่ยนไปจากที่คำนวณได้ก่อนหน้านี้
ข้อดีของการตรวจการเปลี่ยนแปลงก็คือ สามารถตรวจจับไวรัสใหม่ ๆ ได้ และยังมีความสามารถในการตรวจจับไวรัสประเภทโพลีมอร์ฟิกไวรัสได้อีกด้วย แต่ก็ยังยากสำหรับสทีลต์ไวรัส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดของโปรแกรมตรวจหาไวรัสเองด้วยว่าจะสามารถถูกหลอกโดยไวรัสประเภทนี้ได้หรือไม่ และมีวิธีการตรวจการเปลี่ยนแปลงนี้จะตรวจจับไวรัสได้ก็ต่อเมื่อไวรัสได้เข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้วเท่านั้น และค่อนข้างเสี่ยงในกรณีที่เริ่มมีการคำนวณหาค่าเช็คซัมเป็นครั้งแรก เครื่องที่ใช้ต้องแน่ใจว่าบริสุทธิ์พอ คือต้องไม่มีโปรแกรมใด ๆ ติดไวรัส มิฉะนั้นค่าที่หาได้จากการคำนวณที่รวมตัวไวรัสเข้าไปด้วย ซึ่งจะลำบากภายหลังในการที่จะตรวจหาไวรัสตัวนี้ต่อไป
เพื่อที่จะให้โปรแกรมตรวจจับไวรัสสามารถเฝ้าดูการทำงานของเครื่องได้ตลอดเวลานั้น จึงได้มีโปรแกรมตรวจจับไวรัสที่ถูกสร้งขึ้นมาเป็นโปรแกรมแบบเรซิเดนท์หรือ ดีไวซ์ไดรเวอร์ โดยเทคนิคของการเฝ้าดูนั้นอาจใช้วิธีการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลงหรือสองแบบรวมกันก็ได้
การทำงานโดยทั่วไปก็คือ เมื่อซอฟแวร์ตรวจจับไวรัสที่ใช้วิธีนี้ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าไปตรวจในหน่วยความจำของเครื่องก่อนว่ามีไวรัสติดอยู่หรือไม่โดยใช้ไวรัสซิกเนเจอร์ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล จากนั้นจึงค่อยนำตัวเองเข้าไปฝังอยู่ในหน่วยความจำ และต่อไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมใดขึ้นมาใช้งาน โปรแกรมเฝ้าดูนี้ก็จะเข้าไปตรวจโปรแกรมนั้นก่อน โดยใช้เทคนิคการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลงเพื่อหาไวรัส ถ้าไม่มีปัญหา ก็จะอนุญาตให้โปรแกรมนั้นขึ้นมาทำงานได้ นอกจากนี้โปรแกรมตรวจจับ ไวรัสบางตัวยังสามารถตรวจสอบขณะที่มีการคัดลอกไฟล์ได้อีกด้วย
ข้อดีของวิธีนี้คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมใดขึ้นมา โปรแกรมนั้นจะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้งโดยอัตโนมัติ ซึ่งถ้าเป็นการใช้สแกนเนอร์ จะสามารถทราบได้ว่าโปรแกรมใดติดไวรัสอยู่ ก็ต่อเมื่อทำการเรียกสแกนเนอร์นั้นขึ้นมาทำงานก่อนเท่านั้น
ข้อเสียของโปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูก็คือ จะมีเวลาที่เสียไปสำหรับการตรวจหาไวรัสก่อนทุกครั้ง และเนื่องจากเป็นโปรแกรมแบบเรซิเดนท์หรือดีไวซ์ไดรเวอร์ จึงจำเป็นจะต้องใช้หน่วยความจำส่วนหนึ่งของเครื่องตลอดเวลาเพื่อทำงาน ทำให้หน่วยความจำในเครื่องเหลือน้อยลง และเช่นเดียวกับสแกนเนอร์ ก็คือ จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุง ฐานข้อมูลของไวรัสซิกเนเจอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
คำแนะนำและการป้องกันไวรัส
สำรองไฟล์ข้อมูลที่สำคัญ
สำหรับเครื่องที่มีฮาร์ดดิสก์ อย่าเรียกดอสจากฟลอปปีดิสก์
ป้องกันการเขียนให้กับฟลอปปีดิสก์
อย่าเรียกโปรแกรมที่ติดมากับดิสก์อื่น
เสาะหาโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใหม่และมากกว่าหนึ่งโปรแกรมจากคนละบริษัท
เรียกใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัสเป็นช่วง ๆ
เรียกใช้โปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูทุกครั้ง
เลือกคัดลอกซอฟแวร์เฉพาะที่ถูกตรวจสอบแล้วในบีบีเอส
สำรองข้อมูลที่สำคัญของฮาร์ดดิสก์ไปเก็บในฟลอปปีดิสก์
เตรียมฟลอปปีดิสก์ที่ไว้สำหรับให้เรียกดอสขึ้นมาทำงานได้
เมื่อเครื่องติดไวรัส ให้พยายามหาที่มาของไวรัสนั้น
การกำจัดไวรัส
เมื่อแน่ใจว่าเครื่องติดไวรัสแล้ว ให้ทำการแก้ไขด้วยความใคร่ครวญและระมัดระวังอย่างมาก เพราะบางครั้งตัวคนแก้เองจะเป็นตัวทำลายมากกว่าตัวไวรัสจริง ๆ เสียอีก การฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่อีกครั้งก็ไม่ใช่ วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป ยิ่งแย่ไปกว่านั้นถ้าทำไปโดยยังไม่ได้มีการสำรองข้อมูลขึ้นมาก่อน การแก้ไขนั้นถ้าผู้ใช้มีความรู้เกี่ยวกับไวรัสที่ กำลังติดอยู่ว่าเป็นประเภทใดก็จะช่วยได้อย่างมาก และข้อเสนอแนะต่อไปนี้อาจจะมีประโยชน์ต่อท่าน
บูตเครื่องใหม่ทันทีที่ทราบว่าเครื่องติดไวรัส
เมื่อทราบว่าเครื่องติดไวรัส ให้ทำการบูตเครื่องใหม่ทันที โดยเรียกดอสขึ้นมาทำงานจากฟลอปปีดิสก์ที่ได้เตรียมไว้ เพราะถ้าไปเรียกดอสจากฮาร์ดดิสก์ เป็นไปได้ว่า ตัวไวรัสอาจกลับเข้าไปในหน่วยความจำได้อีก เมื่อเสร็จขั้นตอนการเรียกดอสแล้ว ห้ามเรียกโปรแกรมใด ๆ ก็ตามในดิสก์ที่ติดไวรัส เพราะไม่ทราบว่าโปรแกรมใดบ้างที่มีไวรัสติดอยู่
เรียกโปรแกรมจัดการไวรัสขั้นมาตรวจหาและทำลาย
ให้เรียกโปรแกรมตรวจจับไวรัส เพื่อตรวจสอบดูว่ามีโปรแกรมใดบ้างติดไวรัส ถ้าโปรแกรมตรวจ หาไวรัสที่ใช้อยู่สามารถกำจัดไวรัสตัวที่พบได้ ก็ให้ลองทำดู แต่ก่อนหน้านี้ให้ทำการคัดลอกเพื่อสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเสียก่อน โดยโปรแกรมจัดการไวรัสบางโปรแกรมสามารถสั่งให้ทำสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเป็นอีกชื่อหนึ่งก่อนที่จะกำจัดไวรัส เช่น MSAV ของดอสเอง เป็นต้น
การทำสำรองก็เพราะว่า เมื่อไวรัสถูกกำจัดออกจากฌปรแกรมไป โปรแกรมนั้นอาจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือทำงานไม่ได้เลยก็เป็นไปได้ วิธีการตรวจขั้นต้นคือ ให้ลอง เปรียบเทียบขนาดของโปรแกรมหลังจากที่ถูกกำจัดไวรัสไปแล้วกับขนาดเดิม ถ้ามีขนาดน้อยกว่า แสดงว่าไม่สำเร็จ หากเป็นเช่นนั้นให้เอาโปรแกรมที่ติดไวรัสที่สำรองไว้ แล้วหาโปรแกรมจัดการ ไวรัสตัวอื่นมาใช้แทน แต่ถ้ามีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับของเดิม เป็นไปได้ว่าการกำจัดไวรัสอาจสำเร็จ โดยอาจลองเรียกโปรแกรมตรวจหาไวรัสเพื่อทดสอบโปรแกรมอีกครั้ง
หากผลการตรวจสอบออกมาว่าปลอดเชื้อ ก็ให้ลองเรียกโปรแกรมที่ถูกกำจัดไวรัสไปนั้นขึ้นมาทดสอบการทำงานดูอย่างละเอียดว่าเป็นปกติดีอยู่หรือไม่อีกครั้ง ในช่วงดังกล่าวควรเก็บโปรแกรมนี้ที่สำรองไปขณะที่ติดไวรัสอยู่ไว้ เผื่อว่าภายหลังพบว่าโปรแกรมทำงานไม่เป็นไปตามปกติ ก็สามารถลองเรียกโปรแกรมจัดการไวรัสตัวอื่นขึ้นมากำจัดต่อไปได้ในภายหลัง แต่ถ้าแน่ใจว่าโปรแกรมทำงานเป็นปกติดี ก็ทำการลบโปรแกรมสำรองที่ยังติดไวรัสติดอยู่ทิ้งไปทันที เป็นการป้องกันไม่ให้มีการเรียกขึ้นมาใช้งานภายหลังเพราะความบังเอิญได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)